Home Blog Page 311

รู้ทันปากท้องกับตลาดหลักทรัพย์ : บัตรเครดิตถูกขโมยไปใช้ ใครรับภาระหนี้!

“รู้ทันปากท้อง” กับตลาดหลักทรัพย์ ตอน

“บัตรเครดิตถูกขโมยไปใช้ ใครรับภาระหนี้!”

“อาแปะ” สาธิต บวรสันติสุทธิ์กูรูปลดหนี้ แนะให้แจ้งอายัดบัตรทันที โดยเราไม่ต้องรับภาระหนี้ที่เราไม่ได้ก่อ

กรมปศุสัตว์ย้ำกินหมูปลอดภัย เตือนขบวนการปล่อยข่าว หวังกดราคาหมู

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า กระบวนการผลิตเนื้อสุกรของไทย มีมาตรฐานกรมปศุสัตว์รองรับ ทำให้ได้เนื้อสุกรที่มีคุณภาพปลอดภัย ตรวจสอบย้อนกลับได้ ผู้บริโภคสามารถนำไปปรุงสุกและรับประทานได้อย่างมั่นใจ แต่ขณะนี้กลับพบข้อความข่าวลวงที่ส่งต่อกันในทำนองชวนคนงดบริโภค โดยใช้มุกเดิมเรื่องโรคในสุกร และภาพสุกรที่นำมาประกอบน่าจะเป็นของประเทศอื่น เนื่องจากตามหลักปฏิบัติของกรมปศุสัตว์แล้ว จะยึดหลักการพื้นฐานด้านการควบคุมและป้องกันโรคสัตว์ตามมาตรฐานสากลอย่างเข้มงวด

“หากท่านใดพบการส่งข้อความทางไลน์ให้งดรับประทานเนื้อหมู ขออย่าหลงเชื่อ คาดว่าอาจเป็นขบวนการปล่อยข่าวเพื่อกดราคาสุกรของพ่อค้าคนกลาง ซ้ำเติมเกษตรกรผู้เลี้ยงในช่วงโควิด เพราะการกล่าวอ้างถึงโรคระบาดสัตว์ มักสร้างความตระหนกแก่ประชาชนได้ง่าย…ขอประชาชนอย่าแชร์ อย่าตกเป็นเครื่องมือของขบวนการดังกล่าว”

ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์มีมาตรการในการป้องกัน และควบคุมโรคระบาดในสุกร ตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง ดังนั้น ขอเกษตรกรและประชาชนเชื่อมั่นในมาตรการดังกล่าว ซึ่งดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญ เพียงซื้อสุกรจากแหล่งผลิตและผู้จำหน่ายที่ได้รับสัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK” โดยต้องปรุงสุกทุกครั้งเพื่อสุขอนามัยที่ดี

นอกจากนี้ ขอให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร และผู้พบเห็นความผิดปกติด้านสุขภาพสัตว์ สามารถแจ้งเหตุได้ที่แอพพลิเคชั่น DLD 4.0 เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคได้ทันที

เช็คอินพิจิตร ลองเที่ยวเมืองรอง แบบตั้งใจ ไม่ใช่แค่ทางผ่าน

แอดมินปัน มีโอกาสแวะไปเยือนเมืองพิจิตร จังหวัดที่สำหรับหลายคนแล้ว เป็นแค่ทางผ่านจากนครสวรรค์ เพื่อไปสู่จุดหมายปลายทางที่จังหวัดอื่น

พูดถึงพิจิตร หลายหลายคนต้องนึกถึงเมืองชาละวัน กับบีงสีไฟ แต่พิจิตร มีอะไรมากกว่านั้น ให้ค้นหา และเดินทางไปเยือน

ครั้งนี้ บิ๊กเกรียน โดยแอดมินปัน ติดสอยห้อยตามมากับคณะของบริษัท สยามร้าย ทราเวล โดยความร่วมมือกับ ททท. นครสวรรค์ จัดทริปไปเปิดประสบการณ์ในจังหวัดนครสวรรค์และพิจิตร

ทั้งสองจังหวัดนี้อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากกรุงเทพ แต่จะมีโอกาสไปเที่ยวที่นี่แบบจริงๆจังๆ ยาก เพราะ ทั้งสองจังหวัด โดยเฉพาะพิจิตร จัดว่าเป็นเมืองผ่านสำหรับนักเดินทางและท่องเที่ยว

ทริปนี้ใช้เวลา 2 วัน 1 คืน แต่อัดแน่นไปด้วยที่เที่ยวเชิงวิถีชุมชน ย่านตลาดเก่า พิพิธภัณฑ์ และวัดในพื้นที่ โดยเน้นประชาสัมพันธ์เพื่อให้คนลองมาเที่ยวจังหวัดพิจิตรกัน

เราออกเดินทางจากกรุงเทพ แวะทานมื้อกลางวันที่นครสวรรค์ แล้วเดินทางต่อมาถึงพิจิตร ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ที่เที่ยวสถานที่แรก คือ พิพิธภัณฑ์บ้านดงโฮจิมิน หนึ่งในสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาวเวียตนาม เพราะโฮจิมินห์ หรือ ลุงโฮ บุคคลสำคัญของเวียดนาม เคยมาพักอาศัยอยูในพื้นที่นี้เพื่อเคลื่อนไหวทางการเมืองในสมัยนั้น

พิพิธภัณฑ์บ้านดงโฮจิมินห์

พิพิธภัณฑ์บ้านดงโฮจิมินห์ ตั้งอยู่ที่ตำบลป่ามะคาบ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แบบชุมชน เป็นอาคาร 2 ชั้น บนพื้นที่ 6,400 ตารางเมตร เดิมเป็นสุสานของชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม ตั้งอยู่บริเวณใจกลางบ้านดง นอกอาคารยังมีการยังมีบ้านจำลองของประธานโฮจิมินห์ จัดแสดงเป็นบ้านยกพื้นสูง ภายในมีข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว และรูปปั้นของโฮนิมนห์จัดแสดงด้วย

หลังจากนั้น เราเดินทางต่อไปเดินย่านตลาดเก่าวังกรด ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของพิจิตร เพราะอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟวังกรด แต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนแปลงไป คนเดินทางด้วยรถยนต์มากขึ้นทำให้พื้นที่นี้ซบเทราลง แต่ปัจจุบัน คนในพื้นที่ก็พยายามอนุรักษ์ และฟิ้นคืนให้ตลาดวังกรดกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

ที่นี่ เราจะได้พบกับเรือนแถวไม้ปลูกเป็นแถวเรียงยาว หอนาฬิกา สถานีรถไฟวังกรด ที่ได้บรรยากาศเก่าๆ ตอนเดินผ่าน

แวะอุดหนุนน้ำมะนาวดอง หอมชื่นใจ ดื่มแล้วสดชื่นมาก ราคาแค่แก้วละ 10 บาท

เราเดินลัดเลาะผ่านตลาดวังกรดไปถึงริมแม่น้ำด้านหลังตลาด เพื่อไหว้ศาลเจ้าพ่อ-เจ้าแม่วังกลม ศูนย์รวมจิตใจของชาวตลาดวังกรดที่เลื่อมใสศรัทธา

จากนั้น ถึงเวลาอาหารมื้อเย็น โดยชาวชุมชนจัดเลี้ยงอาหารพร้อมการแสดงต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยือนกันที่ บ้านหลวงประเทือง อาคารทรงตึก หลังแรกของตลาดวังกรด อายุประมาณ 80 ปี  โดยสมัยก่อนเป็นของหลวงประเทืองคดีและครอบครัว อาศัยอยู่ริมน้ำน่าน ปัจจุบันทางจังหวัดพิจิตร ได้จัดสรรงบประมาณในการปรับปรุงบ้านหลวงประเทืองคดี เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม 

เช้าวันถัดมา ตื่นแต่เช้าเพื่อไปตักบาตรพระทางน้ำกันที่วัดดงกลาง และทานมื้อเช้ากันที่ตลาดคลองข้าวตอก

จากนั้น เดินทางต่อไปเที่ยวชมบ้านเก่าเสาปั้นจั่น บ้านไม้ในชุมชนเสาปั้นจั่นที่เต็มไปด้วยของสะสมของเจ้าของบ้าน คุณสมบัติ อิสรากำพต ซึ่งภายในบ้านมีของเก่าและงานศิลปะที่ทรงคุณค่า และหายาก ให้พวกเราได้ชมกันอย่างจุใจ

เดินทอดน่องต่อไปดื่มกาแฟเย็นๆ ให้ชื่นใจที่ร้านกาแฟที่ห้ามพลาดของตลาดตะพานหิน ที่ร้านกาแฟโบราณโกยี

ร้านกาแฟโบราณโกยี

นั่งพักจนหายเหนื่อยแล้ว ก็ออกเดินทางต่อไปยังชุมชนวังหว้า แวะไหม้หลวงพ่อใหญ่ที่วัดยางคลี วัดคู่ชุมชน

แล้วเยี่ยมชมต้นหว้า100ปี (ต้นสุดท้าย) สัญลักษณ์สำคัญของชุมชน และดูงานกิจการของวิสาหกิจชุมชนวังหว้าที่นำ “ลูกหว้า” และพืชสมุนไพรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง จนสร้างชื่อเสียงและรายได้ให้กับชุมชนลูกหว้ามาจากแหล่งกำเนิด ต้นหว้า อายุ 100 กว่าปี ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของตำบลวังหว้า เป็นผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ของไทย ปัจจุบัน เมื่อมีการนำลูกหว้ามาสร้างมูลค่า ก็มีการอนุรักษ์ให้ชาวบ้านปลูกต้นหว้ามากขึ้น

หลังจากจบจากกิจกรรมที่ชุมชนวังหว้าแล้ว ก็ถึงเวลาเดินทางกลับกรุงเทพฯ ด้วยความรู้สึกที่เปลี่ยนไปว่า พิจิตร ไม่ใช่ทางผ่าน จากเดิมที่บอกชื่อ พิจิตร ขึ้นมา ก็นึกว่า จะมีอะไรให้เที่ยว หรืออย่างมากก็วันนึงเที่ยวหมดแล้ว แต่เอาเข้าจริงๆ เราสามารถเดินทางมาท่องเที่ยวที่นี่ โดยจัดเป็นทริปสองวันเต็มๆ ได้แบบสบายเลย เพราะที่เที่ยวมีหลากหลายมาก ทั้งในเชิงอนุรักษ์วิถีชุมชน ย่านตลาดเก่า วัดที่เป็นศรัทธาของคนในพื้นที่ อาหารการกินก็อร่อย เพียบ ราคาไม่แพง

สำหรับแอดมินแล้ว บอกได้เลยว่า หลังจากได้ “ลอง” มาสัมผัส “เมืองรอง” อย่างพิจิตรแล้ว แหล่งท่องเที่ยวของที่นี่ ไม่เป็นรองที่ไหนจริงๆครับ

ตบท้าย ขากลับเข้ากรุงเทพฯ เราแวะเที่ยว Landmark สำคัญของจ.นครสวรรค์ คือ วัดคีรีวงศ์ บนยอดเขาดาวดึงค์ ซึ่งสวยงาม และน่าประทับใจมาก จนอยากบอกต่อให้นักเดินทางต้องแวะชมความงามก่อนกลับกันครับ


รู้เก็บรู้ออมรู้ใช้รู้ลงทุน : วางแผนจัดการหนี้ (2)

ครั้งที่แล้วได้เขียนถึงหลักการแยก “หนี้ดี” กับ “หนี้ไม่ดี” โดย “หนี้ดี” คือหนี้ที่ทำให้เรามีความมั่งคั่งขึ้น มีรายได้หรือมีมูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น และเป็นหนี้ที่ไม่กระทบต่อสภาพคล่องในการดำรงชีวิตประจำวัน!!

ส่วนหนี้ที่สร้างปัญหา คือหนี้ที่ไม่ได้สร้างความมั่งคั่ง แถมสร้างภาระให้ชีวิตประจำวันถึงขั้นต้องอดมื้อกินมื้อ อันนี้ถือเป็น “หนี้ไม่ดี”

หากวันนี้สำรวจตัวเองแล้วพบว่า อยู่ในภาวะหนี้สินรุมเร้า มีทั้ง “หนี้ดี” และ “หนี้ไม่ดี” ผสมปนเปสุขภาพการเงินย่ำแย่จนส่งผลต่อสุขภาพจิต

ตัวอย่างเช่น เงินเดือน 15,000 บาท พอเงินออกต้องจ่ายสารพัดหนี้รวมซะ 10,000-12,000 บาท ขนาดจ่ายหนี้บัตรเครดิตแค่ขั้นต่ำยังเหลือใช้แค่ 3,000 บาท เมื่อไม่พอต้องหยิบยืมหรือรูดบัตรเงินสดหรือกู้หนี้นอกระบบมากินอยู่ละก็…

มาเริ่มต้นตั้งใจตั้งสติ “ปลดล็อก” ชีวิตหนี้ ตั้งแต่วันนี้เลยดีกว่า ปฐมบทแรก ที่กูรูนักวางแผนการเงินแนะนำคือ 1.ต้อง “หยุดสร้างหนี้เพิ่ม” ซึ่ง“ข้อห้าม” เด็ดขาดเลย คือ ห้ามกู้หนี้นอกระบบหรือหนี้ที่ดอกเบี้ยสูงกว่า เพื่อไปจ่ายหนี้ที่ดอกเบี้ยต่ำกว่า ปฏิบัติการต่อมา 2.ท่องให้ขึ้นใจ ประหยัด-ประหยัด-ประหยัด รัดเข็มขัดให้แน่น ใช้จ่ายแต่สิ่งจำเป็นเท่านั้น

หากประหยัดแล้วยังไม่พอ นี่เลย 3.ต้องหารายได้เพิ่ม รับจ็อบ-ทำโอที ขายของ ถ้าไม่รู้จะขายอะไรก็มองหาข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน อะไรที่ซื้อไว้แล้วไม่ได้ใช้ หรือใช้แล้วไม่คุ้ม ไม่มีความจำเป็นเอาออกมาขาย เริ่มขายกับเพื่อนฝูง คนใกล้ตัว เพื่อนร่วมงาน หรือขนไปวางขายตามตลาดนัดแถวบ้าน หรือโพสต์ออนไลน์ขายในไอจี-เฟซบุ๊ก

แค่นี้ก็มีเงินเพิ่มขึ้นจาก 2 ทางคือ เงินที่เหลือจากการใช้จ่ายประหยัดขึ้น และรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากรายได้พิเศษ ทำให้มีเงินมาจ่ายคืนหนี้มากขึ้น

ทีนี้เข้าสู่กระบวนการ “ปลดหนี้” ของจริงแล้ว เริ่มจากต้องวางแผน จัดลำดับเริ่มจากเจ้าหนี้ที่ดอกเบี้ยสูงสุดก่อน ให้เข้าไปเจรจาทั้งเจ้าหนี้นอกระบบ (หากเจรจาได้) และเจ้าหนี้สถาบันการเงิน ทั้งแบงก์และนอน-แบงก์ หนี้บัตรเครดิต บัตรเงินสดทั้งหลาย เพื่อขอผ่อนผันลดดอกเบี้ยหรือขยายเวลาชำระหนี้

และให้เริ่มวางแผนผ่อนจ่ายหนี้ที่ดอกเบี้ยสูงให้หมดก่อนโดยเร็วที่สุด หากมีสินทรัพย์อื่น เช่น มีบ้านหรือมีรถ นำไปจำนองหรือขอสินเชื่อเพิ่ม เพื่อนำเงินกู้ไป “ปลดล็อก” จ่ายคืนหนี้นอกระบบหรือหนี้ที่ดอกเบี้ยสูงกว่าให้หมดในก้อนเดียว เพื่อให้เหลือหนี้ทางเดียวที่ดอกเบี้ยต่ำกว่า ภาระผ่อนหนี้ก็จะลดลง ทำให้ “หลุดพ้น” จาก “ชีวิตหนี้” ได้เร็วขึ้น และมีโอกาสมาเริ่มต้น “ออม” เพื่อสู่อิสรภาพทางการเงินได้เร็วขึ้น

ปิดท้ายขอแนะนำให้ใช้ “สำรับการเงินสามัญประจำบ้าน” รู้วิธีบริหารหนี้ มีเงินออม ช่วยแก้ปัญหาการเงินได้ถูกจุด ที่ www.set.or.th/happymoney


ที่มา คอลัมน์ รู้เก็บรู้ออมรู้ใช้รู้ลงทุนสู่ความมั่งคั่ง โดยคุณนายพารวย หน้าเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ซีพีเอฟ หนุนใช้พลังงานทดแทน สร้างสมดุลสิ่งแวดล้อม

นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟ ดำเนินธุรกิจตามแนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน” เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตลอดห่วงโซ่การผลิต เช่น นำชิ้นเนื้อขนาดเล็กจากกระบวนการผลิตไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่า การใช้ระบบหมุนเวียนน้ำในการทำฟาร์มกุ้งโดยไม่ปล่อยน้ำออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ และการใช้พลังงานหมุนเวียน 3 ประเภท คือ พลังงานจากชีวมวล พลังงานจากก๊าซชีวภาพ (Biogas) และพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ซึ่งเป็นพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการใช้พลังงานจากไฟฟ้าและน้ำมัน

ซีพีเอฟ กำหนดเป้าหมายการลดปริมาณการใช้พลังงานต่อหน่วยการผลิตลง 15% ในปี 2568 เทียบกับปีฐาน 2558 ซึ่งปัจจุบันโครงการพลังงานต่างๆ ของบริษัทยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการโซล่าร์ รูฟท็อป บนหลังคาโรงงานและอาคารสำนัก จำนวน 24 แห่ง จะทยอยแล้วเสร็จในปี 2563 และโครงการนำร่องโซล่าร์เซลล์แบบติดตั้งบนพื้นดินในฟาร์มสุกร 16 แห่ง และพร้อมขยายสู่ทุกฟาร์มสุกรทั่วประเทศ ตลอดจนตั้งเป้าหมายยกเลิกการใช้ถ่านหินภายในปี 2565

ในปี 2562 ธุรกิจของ ซีพีเอฟ ในไทย มีการใช้พลังงานหมุนเวียนคิดเป็นสัดส่วน 26% ของการใช้พลังงานทั้งหมด แยกเป็นพลังงานจากชีวมวล (เศษไม้ ขี้เลื่อย ซังข้าวโพด) 1.857 ล้านกิกะจูล พลังงานจากไบโอก๊าซ 1.017 ล้านกิกะจูล และพลังงานแสงอาทิตย์ 439 กิกะจูล ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 425,000 ตันคาร์บอนไดอ๊อกไซดเทียบเท่าต่อปี ประหยัดเงินได้กว่า 250 ล้านบาท

ซีพีเอฟ กำหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 25% ในปี 2568 เมื่อเทียบกับปีฐานปี 2558 และยกเลิกการใช้ถ่านหินภายในปี 2565

นอกจากนี้ บริษัทยังมีการวางแผนบริหารจัดการพลังงานที่ดี มีการตรวจสอบและดูแลอุปกรณ์และเครื่องจักรสม่ำเสมอ การเลือกใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อลดการสูญเสียพลังงานในกระบวนการผลิต ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่อย่างสมดุล ซึ่งการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญที่สนับสนุน ซีพีเอฟ ในการเดินหน้าสู่การเป็นผู้ผลิตอาหารมั่นคงและใส่ใจสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนภายใต้วิสัย “ครัวของโลกที่ยั่งยืน”

ซีพีเอฟ หนุน”รร.บ้านพรหมมาสามัคคี” ให้เด็กไทย/เด็กชาวเขา กินไข่ไก่ครบมื้อ


โรงเรียนขนาดเล็กตั้งอยู่บริเวณที่ราบเชิงเขา และมีภูเขาล้อมรอบ ห่างไกลจากตัวเมืองจังหวัดกำแพงเพชรออกมาประมาณ 60 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของ”โรงเรียนบ้านพรหมมาสามัคคี” ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร เปิดการเรียนการสอนระดับชั้นอนุบาล 2 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6  มีบุคลากรครู 12 คน จำนวนนักเรียน 147 คน เป็นเด็กไทย 79 คน ชนเผ่าอิ้วเมี่ยนหรือเย้า 25 คน และชนเผ่าล่าหู่หรือมูเซอ 43 คน ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่ฐานะค่อนข้างยากจน ด้วยบริบทสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่และอาชีพของคนในพื้นที่ที่มีอาชีพรับจ้างทำไร่มันสำปะหลัง ไร่อ้อย ซึ่งรายได้ไม่แน่นอน โดยเฉพาะในช่วงที่ประสบปัญหาภัยแล้ง   อย่างไรก็ตาม เด็กนักเรียนของโรงเรียนแห่งนี้ มีโอกาสเข้าถึงและได้บริโภคไข่ไก่ โปรตีนคุณภาพที่มีราคาไม่แพง

หลังจากที่โรงเรียนเข้าร่วมโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน เตรียมรับแม่พันธุ์ไก่ไข่อีก 100 ตัว สู่การเลี้ยงเป็นรุ่นที่ 4 เป็นโครงการที่ส่งเสริมเด็กและเยาวชนโดยเฉพาะโรงเรียนในพื้นที่ทุรกันดารและห่างไกล ได้บริโภคไข่ไก่เพื่อบรรเทาปัญหาทุพโภชนาการ ภายใต้ความร่วมมืออย่างยาวนาน โดย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายเแดน (ตชด.) และเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจ ดำเนินการโครงการมาตั้งแต่ปี 2532 เพื่อร่วมสร้างความมั่นคงทางอาหารของโรงเรียนและขยายผลสู่ชุมชนรอบโรงเรียน 

คุณครูอัจฉรา คงอินทร์ คุณครูที่ดูแลชั่วโมงอยู่อย่างพอเพียงและชั่วโมงชุมนุม เล่าว่า โรงเรียนจัดฐานการเรียนรู้ซึ่งเป็นกิจกรรมนอกห้องเรียนของโรงเรียน มีทั้งฐานการเรียนรู้ ก.ไก่พันธุ์ไข่ เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ เด็กๆได้เรียนรู้ขั้นตอนการดูแลไก่ไข่ ให้น้ำ อาหาร ทำความสะอาด การป้องกันโรค นอกจากนี้ ยังมีฐานการเรียนรู้ส.ไส้เดือน ฐานการเรียนรู้ ป.ปลาชีวภาพ ฐานการเรียนรู้เห็ดนางฟ้า ฐานการเรียนรู้ ธ.ธนาคารจุลินทรีย์ ช่วยเสริมประสบการณ์ให้นักเรียนจากการลงมือปฏิบัติจริง และยังมีผลผลิตที่เด็กนักเรียนผลิตเองคือ ไข่ไก่ ผักสวนครัว เห็ดนางฟ้า ฯลฯ ที่จำหน่ายเข้าโครงการอาหารกลางวันนักเรียนผ่านระบบสหกรณ์   

“ผลผลิตไข่ไก่ที่ได้ โรงเรียนมีการบริหารจัดการให้นักเรียนได้บริโภคไข่ไก่เป็นมื้อกลางวัน ทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ หรือ 120 ฟองต่อปีการศึกษา และพยายามให้เด็กๆได้บริโภคไข่ไก่ในมื้ออื่นๆ ให้ได้ทุกวัน บริโภคไข่ไก่ ในมื้ออื่นๆทุกวันโดยเฉพาะ วันหยุดเสาร์ อาทิตย์ และปิดเทอมแม้จะไม่ได้มาโรงเรียน ด้วยการนำผลผลิตที่เหลือจากที่ส่งเข้าโครงการอาหารกลางวันขายให้กับผู้ปกครองนักเรียน”  
ครู สิทธินนท์ ห้อยพรมราช รับผิดชอบโครงการเลี้ยงไก่ไข่ฯ ของรร.บ้านพรหมมาสามัคคี เล่าเพิ่มเติมถึง กิจกรรมโครงการเลี้ยงไก่ไข่ ฯ ซึ่งมีการแบ่งหน้าที่ให้เด็กๆ ช่วยกันให้อาหารไก่ ทำความสะอาดเล้าไก่ เก็บมูลไก่ เก็บผลผลิตไข่ไก่ ทำให้รู้จักรับผิดชอบหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ผลผลิตไข่ไก่ที่เหลือจากส่งเข้าโครงการอาหารกลางวัน จะเน้นนำมาขายให้กับผู้ปกครองนักเรียนเป็นหลัก เพื่อให้นักเรียนมีโอกาสได้บริโภคไข่ไก่ในมื้ออื่นๆ นอกเหนือจากมื้อกลางวันที่นักเรียนได้บริโภคไข่ไก่อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 มื้อแล้ว โรงเรียนยังใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อม โดยทุกๆ 3 วัน จะนำมูลไก่มาตากแห้ง เพื่อผสมกับปุ๋ยหมักใช้ใส่แปลงผัก และนำมูลไก่ตากแห้งเพื่อจำหน่ายให้ชุมชนด้วย

โรงเรียนทำบัญชีรายรับรายจ่ายในกิจกรรมเลี้ยงไก่ไข่ ฯ ตั้งแต่ปีแรก จนถึงปัจจุบัน มีรายได้จากการจำหน่ายไข่ไก่เกือบ 7 หมื่นบาท โดยในปีที่หนึ่ง จะมีกำไรมากหน่อยเพราะทางซีพีเอฟ สร้างโรงเรือนเลี้ยงที่ได้มาตรฐานให้พร้อมกับอุปกรณ์ รวมทั้ง พร้อมมอบพันธุ์ไก่ และอาหารไก่ให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย จากนั้นในปีที่สองเป็นต้นมา ทางโรงเรียนนำรายได้จากการขายไข่ไก่ในปีแรกมาบริหารจัดการเป็นทุนในการดำเนินโครงการเลี้ยงไก่ไข่ได้อย่างต่อเนื่อง  

ด.ช.ธีรพัฒน์ จาจุน หรือ น้องธีร์ เด็กนักเรียนชาวเขาเผ่ามูเซอ ชั้น ป. 6 เล่าว่า ไข่ไก่จากโครงการเลี้ยงไก่ไข่ฯ ของโรงเรียน ทำให้พวกเราได้บริโภคอาหารกลางวันที่ทำจากไข่สัปดาห์ละ 2 -3 มื้อ เช่น ไข่น้ำ ไข่พะโล้ ผัดบวบใส่ไข่ เมนูที่ผมชอบก็คือ ไข่น้ำ ซึ่งนอกจากผมจะได้ทานไข่ไก่ในมื้ออาหารกลางวันที่โรงเรียนแล้ว ผลผลิตไข่ไก่ที่เหลือซึ่งโรงเรียนขายให้ผู้ปกครองนักเรียน ทำให้เราได้บริโภคไข่ไก่เป็นอาหารมื้อเช้าทุกวัน เช่น ไข่ดาว ไข่เจียว และบางวันที่ได้รับประทานไข่ไก่ครบทั้งมื้อเช้า มื้อกลางวัน และมื้อเย็น   

ด.ช.ธนัตถ์ งามเฉลียว น้องนิว อายุ 11 ปี นักเรียนชั้น ป.5 ซึ่งได้รับมอบหมายจากคุณครูให้ช่วยดูแลโครงการเลี้ยงไก่ไข่ฯต่อจากรุ่นพี่ที่จบการศึกษาไปแล้ว เล่าว่า ทุกๆเช้าผมและเพื่อนๆ คือ ดุ๊ก (ด.ช.อนุพนธ์ ยอดหงษ์ ) กล้า (ด.ช.วันชนะ จันทร์ประทัด) ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียน มีหน้าที่ให้อาหารไก่ตอน 08.00 น. ดูแลทำความสะอาดโรงเรือนเลี้ยงไก่ และให้อาหารไก่อีกครั้งตอน 15.30 น.และช่วยกันเก็บไข่ไก่ นำส่งโครงการอาหารกลางวันเพื่อทำอาหารกลางวันให้นักเรียน และไข่ไก่ที่เหลือก็จะนำมาจำหน่ายให้ผู้ปกครองนักเรียน พวกเราได้เรียนรู้วิธีการเลี้ยงไก่ไข่จากพี่ๆซีพีเอฟ ส่วนไข่ไก่ที่โรงเรียนขาย แม่ก็จะซื้อไปทำกับข้าวที่บ้าน ทำให้ผมได้กินไข่ครบทุกมื้อ

นอกจากนี้ ในทุกๆเดือนคุณครูจะแจกไข่ไก่กับนักเรียนที่ช่วยดูแลเลี้ยงไก่ไข่คนละ 1 แผงเพื่อเป็นกำลังใจในการทำงาน   “โรงเรียนบ้านพรหมมาสามัคคี” เป็น 1 ใน 855 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน โครงการที่ช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารของโรงเรียน ทำให้เด็กและเยาวชนได้บริโภคอาหารโปรตีนจากไข่ไก่ ซึ่งนอกจากเด็กๆ จะได้บริโภคเมนูจากไข่ไก่เป็นอาหารกลางวันที่โรงเรียนแล้ว ยังได้บริโภคไข่ไก่ในมื้อเช้าและมื้อเย็นที่บ้าน จากที่โรงเรียนนำผลผลิตไข่ไก่ขายให้ผู้ปกครองในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้บริโภคไข่ไก่ครบทุกมื้อ หนุนการเติบโตสมวัยทั้งทางร่างกายและสติปัญญา

AIS จับมือ GUNKUL – SCB นำร่องพัฒนาแพลตฟอร์มซื้อขายพลังงาน

นายอราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายงานขับเคลื่อนนวัตกรรม เอไอเอส เปิดเผยว่า เอไอเอส ได้ประกาศความร่วมมือกับ บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านธุรกิจพลังงานทดแทนแบบครบวงจร และ บริษัท เอสซีบี เท็นเอ็กซ์ จำกัด บริษัทโฮลดิ้งคอมพานีในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ เดินหน้าโครงการนำร่อง (Sandbox) ในการพัฒนาแพลตฟอร์มซื้อขายพลังงาน PEER-TO-PEER ENERGY TRADING PLATFORM เพื่อสนับสนุนให้คนไทยเข้าถึงการใช้พลังงานสะอาด ราคาถูก ครั้งแรกในไทย

นายอราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายงานขับเคลื่อนนวัตกรรม เอไอเอส

โดย เอไอเอส นำหมายเลขโทรศัพท์มือถือ หรือระบบ Mobile ID ที่พัฒนาภายใต้เทคโนโลยี Blockchain เข้ามาสนับสนุนการทำงานของแพลตฟอร์มซื้อขายพลังงานดังกล่าว ซึ่งในอนาคตจะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาซื้อขายแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าได้อย่างเสรี โดย Blockchain จะเข้ามาช่วยบริหารจัดการธุรกรรมการซื้อขายไฟฟ้าให้เกิดประสิทธิภาพ ขณะที่ผู้ซื้อหรือผู้ขายไฟฟ้าจะสามารถเชื่อมต่อเข้า Blockchain ผ่าน Mobile ID ที่ผ่านการตรวจสอบแล้วได้อย่างปลอดภัยและสะดวกสบาย จึงช่วยสร้างความมั่นใจและน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภค ทั้งยังเป็นการขยายศักยภาพเทคโนโลยีและดิจิทัล แพลตฟอร์มที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภคที่เป็น End Consumer อย่างแท้จริง

เอไอเอส ชวนทิ้งขยะอิเล็กทรอนิคส์ แลกคะแนน AIS POINT

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส เปิดเผยว่า บริษัทเปิดตัวแคมเปญใหม่ “เอไอเอส E-Waste ทิ้งรับพอยท์” ที่ร่วมภารกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมครั้งสำคัญไปกับเอไอเอส เปลี่ยนทุกการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นคะแนน AIS Points ใน 3 ขั้นตอน คือ

  • นำขยะอิเล็กทรอนิกส์ 5 ประเภท ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต, แบตเตอรี่มือถือ, สายชาร์จ, หูฟัง และพาวเวอร์แบงก์ ไปยังเอไอเอสช็อปใกล้บ้าน
  • แจ้งกับพนักงานว่าต้องการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์มาทิ้ง
  • นำขยะหย่อนลงถัง และสแกน QR Code เพื่อรับ AIS Points จากแท็บเล็ตของพนักงาน ซึ่งจะแสดงผลจำนวน AIS Point ที่ได้รับทันทีผ่าน Notification โดยลูกค้าสามารถตรวจสอบยอดรวม AIS Point ได้ที่ App My AIS

โดยขยะอิเล็กทรอนิกส์ 1 ชิ้นมีค่า 5 คะแนน 1 หมายเลขสามารถรับ AIS Points ได้สูงสุด 10 คะแนนต่อวัน ระยะเวลาโครงการตั้งแต่ 1 กันยายน 2563 ถึง 31 ตุลาคม 2563

ทั้งนี้ ยังเน้นให้ความรู้การทิ้งขยะ E-Waste อย่างถูกวิธี เพื่อความปลอดภัยตามหลักสากล ใน 3 ขั้นตอน คือ

  • ลบข้อมูลและภาพออกจากโทรศัพท์หรือแท็บเล็ต (Format and Factory Reset)
  • ถอดเมมโมรี่การ์ดออกออกก่อนทิ้งทุกครั้ง
  • หากโทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต แบตเตอรี่มือถือ และพาวเวอร์แบงก์ มีลักษณะผิดปกติ เช่น บวม หรือ เปลี่ยนสี ให้นำไปแช่น้ำทิ้งไว้ ประมาณ 5 ชั่วโมง เพื่อลดประจุพลังงาน และนำใส่ถุงหรือห่อกระดาษก่อนนำไปทิ้ง

ปัจจุบันโครงการ คนไทยไร้ E-Waste มีภาคีเครือข่ายทั่วประเทศรวมกว่า 52 องค์กร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ที่จะร่วมสร้างการตระหนักรู้ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีอยู่รวมกันกว่า 2,000 จุดทั่วประเทศ

บุญรอดบริวเวอรี่ มอบ “ทุนบุญรอดพัฒนา นิสิต นักศึกษา” ปีที่ 38

รายงานข่าว เปิดเผยว่า บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด  จัดพิธีมอบทุนการศึกษา “ทุนบุญรอดพัฒนา นิสิต นักศึกษา” ประจำปี 2563 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 38 โดยมี นายวุฒา ภิรมย์ภักดี ประธานกรรมการ นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ นายวรวุฒิ ภิรมย์ภักดี กรรมการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ร่วมเป็นประธาน โดยในปีนี้ ยังคงจำนวนทุนการศึกษาที่ 337 ทุน รวมทั้งสิ้น 8,425,000 บาท ให้แก่นิสิต นักศึกษาใน 22 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ โดยทุนเรียนทั้งหมดเป็นทุนต่อเนื่อง 4 ปีจนจบการศึกษาแบบให้เปล่า ไม่ต้องใช้ทุนคืน ตอกย้ำเจตนารมณ์แห่งการให้ เพื่อตอบแทนสังคมของบุญรอดบริวเวอรี่ ที่ให้ความสำคัญมาตลอด 87 ปีของการดำเนินธุรกิจ

สำหรับนิสิต นักศึกษาที่ได้รับทุน ต้องมีคุณสมบัติเป็นเด็กที่เรียนดี ประพฤติดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยบริษัท บุญรอดฯ จะเข้าพิจารณาร่วมกับสถาบันการศึกษา โดยคาดหวังให้เด็กที่ได้รับทุนทุกคน จะนำความรู้และโอกาสที่ได้รับ ไปพัฒนาประเทศชาติต่อไป ซึ่งตลอดเวลา 38 ปีที่ผ่านมา “ทุนบุญรอดพัฒนานิสิต นักศึกษา” ได้มอบทุนฯรวมแล้วกว่า 8,765 ทุน

โดยสถาบันที่ได้รับมอบทุนมีทั้งสิ้น 22 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ม.เกษตรศาสตร์, ม.ขอนแก่น, ม.เชียงใหม่, ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้า
คุณทหารลาดกระบัง, ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, ม.ธรรมศาสตร์, ม.นเรศวร, ม.บูรพา, ม.มหาสารคาม, ม.มหิดล, ม.แม่โจ้, ม.รามคำแหง, ม.ศรีนครินทรวิโรฒ, ม.ศิลปากร, ม.สงขลานครินทร์, รร.นายร้อยพระจุลจอมเกล้า, รร.นายเรือ, รร.นายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช, รร.นายร้อยตำรวจ และวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

CP-CPF ส่งมอบอาหารให้มูลนิธิมิราเคิลออฟไลฟ์ ช่วยเหลือชาวสุโขทัยที่ประสบภัย

เครือซีพี-ซีพีเอฟโดย นายสุภกิต เจียรวนนท์ ประธานกรรมการบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์จำกัดและประธานกรรมการบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด(มหาชน) ร่วมสนับสนุนผลิตภัณฑ์อาหารคุณภาพสะอาดปลอดภัยของเครือซีพี-ซีพีเอฟให้แก่มูลนิธิมิราเคิลออฟไลฟ์เพื่อดำเนินงานตามโครงการ”หนึ่งใจ…ช่วยเหลือผู้ประสบภัย” 

ประกอบด้วย ไก่สด480 กิโลกรัมเนื้อหมู 480 กก., ไข่ไก่ 1,800 ฟอง, ไส้กรอก 500 แพ็ค, น้ำดื่ม18,000 แพ็ค, ข้าวสาร1,000 ถุง และกล่องบรรจุภัณฑ์ 3,000 ชุดเพื่อนำไปจัดทำอาหารปรุงสุกพร้อมทานและถุงยังชีพบรรเทาความเดือดร้อนและให้กำลังใจผู้ประสบอุทกภัยชาวสุโขทัยได้ก้าวผ่านวิกฤตไปด้วยกัน โดยมีนายวิรัตน์ ตันหยง รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ เป็นตัวแทน ส่งมอบที่วัดหนองป่าตอสามัคคีธรรม ต.ท่าทอง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย