Home Blog Page 131

‘U FARM x MICHELIN Guide Thailand’ ชวนเปิดประสบการณ์อร่อยระดับเวิลด์คลาส กับ 4 สุดยอดเชฟมิชลินสตาร์ 2023

0

U FARM ในกลุ่ม บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ชวนเปิดประสบการณ์ความอร่อยระดับเวิลด์คลาส คูณ 2 กับสุดยอดผู้นำด้านอาหารระดับโลกที่มาร่วมกันรังสรรค์เมนูสุดพิเศษ ระหว่าง 4 สุดยอดเชฟจากร้านมิชลินสตาร์ ประจำปี 2023 และ U FARM ด้วยผลิตภัณฑ์พรีเมียม ไก่เบญจา หมูชีวา และไข่ไก่สดโอชา แบรนด์แรกและแบรนด์เดียวของประเทศไทยที่คว้ารางวัลความอร่อยระดับโลกบนเวทีนานาชาติ ด้วยนวัตกรรมจากธรรมชาติ 100% ปลอดสาร ปลอดภัย เลี้ยงดูอย่างใส่ใจด้วยซูเปอร์ฟู้ด ทั้งข้าวกล้องคัดพิเศษ และ Flax seed จึงทำให้หมูและไก่ มีโอเมก้า 3 มีความหอม… นุ่ม… ฉ่ำ… มากกว่าเนื้อสัตว์ทั่วไปถึง 55% และได้รับการรับรองมาตรฐานระดับโลก NSF ที่บรรดาเชฟจากร้านมิชลินสตาร์ไว้วางใจนำมารังสรรค์อาหารในแบบฉบับของตนเองอย่างพิถีพิถัน จนกลายเป็นเมนูสุดพิเศษแบบ Limited Creation

เริ่มที่ท่านแรก ‘เชฟเฮงค์ ซาเวลเบิร์ก’ (Henk Savelberg) จากร้าน Savelberg เชฟชาวดัตช์ ที่มีประสบการณ์มากกว่า 30 ปี ปรุงอาหารฝรั่งเศสร่วมสมัยหลากหลายเมนูที่ยังคงเอกลักษณ์ความดั้งเดิมได้อย่างดีเยี่ยม นอกจากนี้ ยังคิดค้นไอเดียใหม่ๆ ต่อยอดเป็นเมนูระดับไฮเอนด์ให้กับ U FARM เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้ทุกท่านได้ดื่มด่ำกับมื้ออาหารชั้นเลิศ โดยคอร์สแรก เมนูจานหลักนำเสนอความสดใหม่ของวัตถุดิบ ให้เลือกระหว่างหมูชีวาหรือไก่เบญจา จาก 5 คอร์ส หากเลือกไก่เบญจา ความพิเศษคือทำเป็นโรล (Roulade) ม้วนชิ้นเนื้อเข้ากับสมุนไพรหมักด้วยน้ำเกลือ ทำให้เนื้อนุ่มมากยิ่งขึ้น ส่วนเมนูหมูชีวาสไตล์ยุโรป เนื้อหมูปรุงสุกกำลังดี ราดซอส Ravigote รสชาติเปรี้ยวหวานลงตัว เข้าปากแล้วรู้สึกสดชื่นทันที มีชีวิตชีวาเหมือนกับหมูชีวา

ท่านที่ 2 ‘เชฟต้อย-พิไลพร คำหนัก’ จากร้านเสน่ห์จันทน์ (Saneh Jaan) ผู้หลงใหลและชำนาญทั้งอาหารไทยและอาหารตะวันตก พิถีพิถันตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบคุณภาพดีจาก U FARM รังสรรค์ 2 เมนูสุดพิเศษ ได้แก่ ‘แกงหมูโบราณ’ วัตถุดิบหลัก คือ สามชั้นของหมูชีวา ที่มีความนุ่ม เด้ง เพิ่มรสจัดจ้านด้วยซอสพริกแกงไทย อร่อยลงตัวไร้ที่ติ และเมนูที่ 2 ‘แกงไก่มลายู’ นําเสนอวัฒนธรรมผสมผสานระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียและอินโดนีเซีย ชูความนุ่มของเนื้อไก่เบญจาที่มีไขมันน้อย ปรุงเข้ากับเครื่องเทศเฉพาะถิ่น ทําให้อาหารจานนี้มีรสชาติเข้มข้นมากยิ่งขึ้น

ท่านที่ 3 ‘เชฟเทียร์รี ดราโป’ (Thierry Drapeau) เชฟมิชลินสตาร์ จากร้าน Signature Bangkok ที่ขึ้นชื่ออาหารสไตล์ฝรั่งเศสสมัยใหม่ โดยปรัชญาของเชฟ “Cuisine of the Soil” คือการคัดสรรวัตถุดิบคุณภาพสูง สด ใหม่ และดีต่อสุขภาพในการทำอาหาร จึงมั่นใจและเลือกใช้ U FARM สร้างสรรค์เมนูเลิศรสให้ลูกค้าได้สัมผัส 2 เมนูจานหลัก ได้แก่ Suprême De Poulet (ซูพรีม เดอ ปูเลต์) จากไก่เบญจา และ Terre et Mer (แตร์ เอต แมร์) จากหมูชีวา โดยเชฟตั้งใจสร้างความแปลกใหม่ด้วยการนำวัตถุดิบที่แตกต่างให้มาอยู่ในจานเดียวกัน ผสมผสานได้อย่างลงตัว ทำให้ 2 จานนี้พิเศษไม่เหมือนใคร

สุดท้ายกับ เชฟจากร้านมิชลินสตาร์ ดีกรีระดับ 2 ดาว อย่าง ‘เชฟชุมพล แจ้งไพร’ จากร้าน R-Haan ผู้เชี่ยวชาญอาหารไทยแบบ Fine Dining แต่ยังคงภูมิปัญญาไทยแท้ดั้งเดิม ผ่านตำรับอาหารพื้นบ้านและตำรับอาหารชาววังด้วยวัตถุดิบที่ดีที่สุด รังสรรค์เมนู ‘ไข่พะโล้’ สูตรของคุณย่า ด้วยความทรงจําในวัยเด็กที่ผูกพันกับอาหารจานนี้เป็นพิเศษ และอีก 1 เมนูที่ภูมิใจนำเสนอ คือ ซุปไทยที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก อย่าง ‘ต้มข่าไก่ Espuma’ นำเสนอความแตกต่างสไตล์ฝรั่งเศส จัดจานสวยหรูแบบ Fine Dining เชฟชุมพล นําเมนูที่มีความพิเศษทั้งเรื่องราวและเป็นเมนูที่คุ้นเคยโดยเพิ่มเทคนิคใหม่ๆ ให้ทุกคนได้ลิ้มลองและสัมผัสภูมิปัญญาอาหารไทยอันวิจิตร มีประโยชน์และรสชาติอร่อยประทับใจ เสิร์ฟเป็น Complimentary ให้กับลูกค้าทุกท่าน

แคมเปญ ‘U FARM x MICHELIN Guide Thailand’ ครั้งนี้ การันตีวัตถุดิบพรีเมียมระดับโลก ควบคู่กับการรังสรรค์เมนูชั้นเลิศจากเชฟฝีมือระดับโลก จึงกลายเป็นความอร่อยระดับเวิลด์คลาสคูณ 2 ที่พลาดไม่ได้ ซึ่งทั้ง 4 ร้านมิชลินสตาร์ ปี 2023 พร้อมให้บริการและชวนทุกท่านเปิดประสบการณ์ใหม่สุดพิเศษ ตลอดทั้งเดือนสิงหาคม–กันยายน 2566 โดยเริ่มต้นที่ ‘ร้าน SAVELBERG’ วันที่ 1-15 สิงหาคม ต่อด้วย ‘ร้าน SANEH JAAN’ วันที่ 15-31 สิงหาคม ‘ร้าน SIGNATURE’ วันที่ 1-15 กันยายน และ ‘ร้าน R-HAAN’ วันที่ 16-30 กันยายน ติดตามข่าวสารและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ U FARM ได้ที่ www.ufarmthailand.com หรือ Facebook Fanpage : https://www.facebook.com/ufarmthailand/

AIS โชว์ผลประกอบการไตรมาส 2/2566 สุดแกร่ง กำไรสุทธิพุ่ง 14% แตะ 7.1 พันล.

0

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS เผยผลประกอบการประจำไตรมาส 2 ประจำปี 2566 ทำรายได้รวมอยู่ที่ 44,774 ล้านบาท ลดลง 1.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลง 4.1% จากไตรมาสก่อน จากปัจจัยตามฤดูกาลของการขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ พร้อมทั้งส่งมอบกำไรสุทธิได้อย่างแข็งแกร่งที่ 7,180 ล้านบาท เติบโต 14% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปีก่อน เป็นผลมาจากการการเติบโตของรายได้จากการให้บริการหลักควบคู่ไปกับการบริหารต้นทุนจากการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการมุ่งเน้นคุณภาพของการให้บริการทุกมิติ โดยในครึ่งปีหลัง AIS ยังคงเดินหน้าลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพบริการและโครงข่ายอัจฉริยะ 5G เพื่อรองรับการเติบโตของตลาดผู้ใช้งาน เสริมขีดความสามารถของกลุ่มธุรกิจหลัก พร้อมทั้งเดินหน้าขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตบ้านความเร็วสูงในพื้นที่ใหม่ๆ การพัฒนาโครงข่ายและโซลูชันสำหรับภาคธุรกิจ ด้วยงบประมาณ 27,000-30,000 ล้านบาท พร้อมขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีอัจฉริยะ หรือ Cognitive Tech-Co ตามแผน

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวว่า “จากวิสัยทัศน์ที่เราประกาศ พร้อมยกระดับ AIS สู่การเป็น Cognitive Tech-Co หรือผู้ให้บริการเทคโนโลยีอัจฉริยะไปเมื่อช่วงปลายปี 2564 เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น รวมถึงเราสามารถนำแนวทางดังกล่าวเข้ายกระดับการทำงานในองค์รวม ตั้งแต่งานปฏิบัติการโครงข่ายอัจฉริยะเพื่อพัฒนาคุณภาพสัญญาณสื่อสารให้แม่นยำและสามารถแก้ไขปัญหาได้แบบ Realtime ผ่านการใช้ AI ร่วมกับการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบ IT ที่ชาญฉลาดเพื่อความรวดเร็วและความปลอดภัย มาจนถึงกระบวนการนำเสนอการให้บริการที่สามารถส่งมอบบริการให้ลูกค้าได้แบบ Personalization ด้วยการประยุกต์ใช้ Data Analytic ระดับสูง ส่งผลให้ผลการดำเนินงานในไตรมาส 2 และครึ่งปีแรกนี้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ แม้จะมีความกังวลสำหรับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก แต่ในขณะเดียวกันเราเริ่มเห็นเศรษฐกิจไทยเริ่มกลับมาเติบโตอีกครั้ง จากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ที่เป็นเครื่องยนต์สำคัญต่อ Ecosystem Economy ของประเทศ”

สำหรับผลประกอบการไตรมาส 2 ของปี 2566 AIS มีรายได้รวมอยู่ที่ อยู่ที่ 44,774 ล้านบาท ลดลง 1.1% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปีก่อน และลดลง 4.1% จากไตรมาสก่อน ในขณะที่รายได้จากการให้บริการหลักเติบโตขึ้น 1.8% จากไตรมาส 2 ปีก่อนและ 1.1% จากไตรมาสก่อน และจากการบริหารจัดการต้นทุนค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการนำเทคโนโลยี AI เข้าปรับใช้ในกระบวนการดำเนินงาน โดยเฉพาะด้านโครงข่ายให้เหมาะสมกับการใช้งานของลูกค้า ทำให้ เอไอเอสมีกำไรสุทธิที่ 7,180 ล้านบาท เติบโตขึ้น 14% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปีก่อน และเติบโตขึ้น 6.3% จากไตรมาสก่อนหน้า โดยมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีและค่าเสื่อมราคา (EBITDA) เท่ากับ 23,317 ล้านบาท เติบโต 4.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

สำหรับรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เติบโตขึ้น 1.0% จากไตรมาส 2 ปีก่อน และ 0.8% จากไตรมาสก่อน มีจำนวนผู้ใช้บริการ 5G เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด รวมแล้วกว่า 7.8 ล้านราย เติบโตขึ้นจาก 3.9 ล้านรายในไตรมาส 2 ปีก่อน ในขณะที่ปัจจุบันเอไอเอสมีจำนวนลูกค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่รวม 45.3 ล้านเลขหมาย และคงความเป็นผู้นำด้วยโครงข่าย 5G ที่ครอบคลุมพื้นที่การให้บริการกว่า 99% ในกรุงเทพ และ 87% ของพื้นที่ประชากร ประกอบกับการมีคลื่นความถี่ในการให้บริการมากที่สุดรวม 1460 MHz (นับรวมคลื่นความถี่ที่ร่วมมือกับพันธมิตรรวมถึง NT ซึ่งอยู่ระหว่างการอนุมัติจาก กสทช.) ทำให้ AIS มีความพร้อมในการมอบประสบการณ์การใช้งานที่เหนือกว่า

ขณะที่ธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ยังคงทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมด้วยการขยายพื้นที่บริการ และการส่งมอบบริการและนวัตกรรมอินเทอร์เน็ตบ้านที่เหนือกว่ามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี ทั้งการเชื่อมโยงอุปกรณ์กระจายสัญญาณและสร้างโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระดับ Gigabit ทุกห้องภายในบ้านด้วยโครงข่ายไฟเบอร์ หรือ FTTR (Fiber to The Room) ที่พร้อมเชื่อมต่อสัญญาณไวไฟแบบไร้รอยต่อ(Seamless Roaming) เพื่อประสบการณ์ที่ดีที่สุดทุกพื้นที่ในบ้าน หรือแม้แต่การเปิดให้บริการ WiFi 6E เทคโนโลยีมาตรฐานสัญญาณไร้สายใหม่บนคลื่นความถี่ใหม่ 6GHz เป็นรายแรกของอุตสาหกรรมบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตในเมืองไทย โดย AIS Fibre มีรายได้เติบโตกว่า 15% จากไตรมาส 2 ปีก่อน และเติบโตต่อเนื่อง 5.4% จากไตรมาสก่อน มีจำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นกว่า 60,500 รายต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนและ มีฐานลูกค้ารวมกว่า 2.33 ล้านราย

ในส่วนของกลุ่มธุรกิจลูกค้าองค์กรทำรายได้เติบโต 2.2% เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน และยังคงเดินหน้าทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์เพื่อส่งมอบโซลูชันสำหรับภาคธุรกิจตั้งแต่ผู้ประกอบการ SME ไปจนถึง ภาคการผลิต และภาคอุตสาหกรรมในการทำ Digital Transformation ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้แนวคิด เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน

นายสมชัย กล่าวในช่วงท้ายว่า “การเดินทางสู่ Cognitive Tech-Co เป็นภารกิจหลักของชาว AIS ที่เราต้องการยกระดับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยให้ก้าวไปอีกขั้น ให้มีขีดความสามารถและมาตรฐานระดับสากล ที่สำคัญคือการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ผ่านโครงข่ายสื่อสารอัจฉริยะ โครงข่ายเน็ตบ้านที่คุณภาพดีที่สุดและครอบคลุมที่สุดในประเทศ รวมถึงสิทธิพิเศษ และงานบริการที่ดีที่สุด เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการมุ่งส่งมอบคุณภาพและประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า”

ซีพีเอฟ – SeaBOS ขับเคลื่อนความยั่งยืนอุตสาหกรรมอาหารทะเล สร้างอาหาร ปลอดสาร ปลอดภัย

0

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ผนึกกำลัง SeaBOS (Seafood Business for Ocean Stewardship) ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทอาหารทะเลชั้นนำระดับโลก 10 แห่งที่ทำงานร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาห่วงโซ่ผลิตอาหารทะเลด้วยกระบวนการที่ยั่งยืนตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ก้าวสู่เป้าหมายในการปกป้องมหาสมุทร ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางทะเลซึ่งเป็นรากฐานของความมั่นคงด้านอาหารของสังคมโลก

น.สพ. สุจินต์ ธรรมศาสตร์ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ ธุรกิจสัตว์น้ำ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบ เพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ แม้ว่าบริษัทจะไม่ได้ผลิตปลาป่นหรือเป็นเจ้าของเรือประมง แต่บริษัทก็มุ่งมั่นที่จะสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเลทั้งหมด

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ ซีพีเอฟบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ และการผลิตอาหารที่ยั่งยืน ซึ่งจะเป็นหลักประกันความมั่นคงทางอาหารสำหรับผู้บริโภคทั่วโลกในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของ SeaBOS คือการเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงการผลิตอาหารทะเลในระดับโลก และลดผลกระทบของอุตสาหกรรมต่อมหาสมุทร

“เราเชื่อว่าการร่วมมือกับพันธมิตรที่มีอุดมการณ์เดียวกัน จะช่วยให้เราสามารถพัฒนาและปรับปรุงอุตสาหกรรมอาหารทะเลไปด้วยกัน ดีกว่าการเดินหน้าเพียงลำพัง ความรู้ที่ได้จากคณะทำงานของ SeaBOS มีประโยชน์อย่างมากต่ออุตสาหกรรมอาหารทะเลโดยรวม และเป็นประโยชน์ต่อซีพีเอฟด้วยเช่นกัน เพราะซีพีเอฟสามารถนำความรู้นี้ไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก เพื่อดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและสร้างการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมอาหารทะเลที่เป็นรูปธรรม” น.สพ. สุจินต์ กล่าว

ในปี 2564 ซีพีเอฟ ได้เข้าร่วมเป็นภาคีสนับสนุนของคณะทำงานต้านทานจุลินทรีย์ (AMR) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มทำงานของ SeaBOS คณะทำงานนี้ได้นำองค์ความรู้และประสบการณ์ของผู้ผลิตอาหารทะเล และผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกมาร่วมกันหาแนวทางในการลดการใช้ยาปฏิชีวนะในอุตสาหกรรมอาหารทะเล เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในมนุษย์และสัตว์

ซีพีเอฟ ได้แชร์ความสำเร็จจานโยบาย“วิสัยทัศน์ระดับโลกด้านการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์” ซึ่งบริษัทได้ประกาศตั้งแต่ปี 2560 ให้ทุกกิจการของซีพีเอฟทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกนำไปปฏิบัติ โดยในปัจจุบัน การเลี้ยงสัตว์น้ำของซีพีเอฟไม่มีการใช้ยาต้านจุลชีพ และสารเร่งการเจริญเติบโต (growth promoter) ในการเลี้ยงสัตว์น้ำทุกชนิด อย่างไรก็ตาม เมื่อพบว่าสัตว์ป่วย ซีพีเอฟ จะรักษาสัตว์ป่วยตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ โดยใช้ยาต้านจุลชีพอย่างรับผิดชอบ ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม และมีระยะเวลาในการหยุดการใช้ยา นอกจากนี้ บริษัทฯ มีโปรแกรมตรวจสุขภาพสัตว์น้ำ และสุ่มตรวจภาวะเชื้อดื้อยาเป็นประจำ รวมถึงทำการสื่อสาร การแบ่งปันความรู้ ความสำเร็จไปยังพันธมิตรในห่วงโซ่อุปทานของซีพีเอฟ

“เราสามารถโน้มน้าวพันธมิตรได้โดยการแบ่งปันหลักฐานเชิงประจักษ์และแนวทางแก้ไขที่อาศัยหลักวิทยาศาสตร์ เช่นเดียวกัน เราสามารถกระตุ้นพวกเขาได้โดยการอธิบายปัญหาและแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการใช้แนวทางที่ยั่งยืนมากขึ้น การแบ่งปันความรู้และถ่ายทอดความรู้ ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อบังคับใช้กฎระเบียบ ตลอดจนแรงขับเคลื่อนอื่น ๆ ทางอ้อม ล้วนสามารถส่งเสริมเครือข่ายซัพพลายเชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยกระดับมาตรฐานของอุตสาหกรรม ส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่รับผิดชอบและยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเล” น.สพ. สุจินต์ กล่าวทิ้งท้าย

รู้เก็บรู้ออม : เช็กเลเวลความรู้เรื่องการเงิน

0

“คุณนายพารวย” เชื่อว่า ต้องมีหลายคนที่คิดอยากเริ่มต้นวางแผนการเงิน อยากเริ่มลงทุน แต่ก็ยังไม่ได้ลงมือทำเสียที เพราะติดตรงที่ “ไม่รู้” ว่าจะเริ่มต้นตรงไหนและอย่างไรดี

คนที่กำลังเจอปัญหาแบบนี้อยู่ อยากชวนให้มาลองค้นหาคำตอบกับ SETFin Quizz ควิซวัดระดับความรู้การเงิน-การลงทุน ของ “ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย”

SETFin Quizz เป็นเว็บไซต์ที่มีระบบสอบและประเมินผลระดับความรู้ทางการเงินของคนไทย เพื่อช่วยเช็กระดับความรู้เรื่องการเงินของผู้ทำแบบทดสอบ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับ เริ่มต้นจากระดับเริ่มรู้, เรียนรู้ และรอบรู้

โดยแบ่งแบบทดสอบ เป็น 3 หมวด คือ แบบทดสอบที่หนึ่ง Know your Money เช็กให้รู้ การเงินรอบตัว จะช่วยเช็กความรู้เรื่องการเงินรอบตัว วัดระดับความรู้ในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารรายรับ, การบริหารรายจ่าย, การบริหารหนี้สิน, การบริหารเงินออม, การบริหารการลงทุน และการบริหารความเสี่ยงของชีวิตและทรัพย์สิน

แบบทดสอบที่สอง Ready to Invest เช็กให้พร้อม ก่อนลงทุนจริง สำหรับคนที่กำลังเริ่มต้นศึกษาและมีคำถามที่ต้องการเช็กให้พร้อม ก่อนลงทุนในหุ้น เพื่อช่วยเปิดประตูสู่เรื่อง “การลงทุน” ประกอบด้วยเนื้อหาที่วัดระดับความรู้เรื่องการลงทุนในหลักทรัพย์ ได้แก่ อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง, การกระจายความเสี่ยงในการลงทุน, ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักทรัพย์ลงทุน, ประเภทของกลุ่มสินทรัพย์ลงทุนและการจัดสรรกลุ่มสินทรัพย์ลงทุนที่เหมาะสม และการสร้างประสบการณ์การลงทุน

และแบบทดสอบที่สาม Fit to Invest เช็กให้ดี วิธีเลือกหุ้น ช่วยวัดระดับความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกหุ้น ได้แก่ หลักเบื้องต้นในการวิเคราะห์หุ้นและเศรษฐกิจ, แนวทางวิเคราะห์อุตสาหกรรม, แนวทางวิเคราะห์บริษัท, การคัดกรองและประเมินมูลค่าหุ้น และหลักเบื้องต้นในการวิเคราะห์ทางเทคนิค

แต่ละบททดสอบใช้เวลาทำไม่นาน ไม่เกิน 15 นาที และหลังทดสอบเสร็จจะมีการให้คำแนะนำความรู้ และแหล่งเรียนรู้ไว้ไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ส่วนผลทดสอบจะถูกนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาความรู้และส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีในด้านการเงินโดยรวมของคนไทยต่อไป

“คุณนายพารวย” ขอชวนให้คุณผู้อ่านเปลี่ยนความ “ไม่รู้” ให้เป็นพลังแห่งการเรียนรู้ โดยสามารถเข้าไปทำแบบทดสอบวัดระดับเพื่อประเมินตัวเองได้ที่ https://finquizz.setgroup.or.th/

อย่าปล่อยให้ความไม่รู้เป็นอุปสรรคในการพัฒนาตัวเอง ยิ่งรู้เลเวลความรู้การเงินตัวเองเร็วเท่าไรยิ่งดี เพราะเช็กก่อน รู้ไว ไปได้ไกลกว่า!

คุณนายพารวย

ที่มา คอลัมน์ "รู้เก็บรู้ออมรู้ใช้รู้ลงทุน..สู่่ความมั่งคั่ง"  หน้าเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

เกษตรกรเลี้ยงหมูผ่าทางตัน เลี้ยงหมูเล็กส่งร้านหมูย่าง ต่อชีวิต หวัง ก.พาณิชย์ เร่งคลอดมาตรการช่วยเหลือ

0
โดย ศิริกุล สดับสำเนียง นักวิชาการด้านปศุสัตว์

ชะตาชีวิตของเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูไทยช่วง 2 ปีมานี้ เรียกได้ว่า “พระศุกร์เข้า พระเสาร์แทรก” เจอปัญหาไม่รู้จบ เห็นเค้าลางอาจต้องอำลาอาชีพในอนาคต จากปัญหาค้างคาตั้งแต่ปลายปี 2564 วัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับราคาแรงกว่า 30% พอปี 2565 ประกาศพบโรค ASF ในประเทศ ผลผลิตหายไป 50% ไม่มีใครนำหมูเข้าเลี้ยงเพราะเสี่ยงขาดทุน เนื้อหมูในประเทศราคาดีมากแต่ไม่มีของขาย เลยโดน “หมูเถื่อน” หยิบชิ้นปลามันไปกินแบบสบายๆ กว่าปราบปรามให้คลี่คลายได้ใช้เวลา 1 ปีเต็ม มาปีนี้ 2566 หมูเถื่อนบรรเทาเหมือนปัญหาจะจบ แต่ราคาหมูดันตกต่ำ เพราะหมูที่ทยอยเลี้ยงตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมาออกสู่ตลาดต่อเนื่อง คาดผลผลิตทั้งปีจะอยู่ที่ 18-19 ล้านตัว เกินกว่าความต้องการที่ประมาณ 16.5 ล้านตัว มีหมูเข้าโรงงานแปรรูปวันละ 55,000 ตัว เท่ากับช่วงก่อนเกิดโควิด-19

ทุกข์ที่ 2 ของเกษตรกรในปีนี้เป็นการรับอานิสงส์ต่อเนื่องจากการปะทุของสงครามรัสเซีย-ยูเครน จากปีที่ผ่านมา คือ ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับตัวสูงถึง 30% ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศสูงสุดอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนที่ 13.75 บาทต่อกิโลกรัม แม้จะปรับลดลงมาช่วงก่อนหน้านี้ แต่ก็ยังอยู่ในระดับสูงประมาณ 12.50 บาทต่อกิโลกรัม ผู้เลี้ยงยังไม่ทันรับรู้ถึงราคาที่ปรับลดลง ต้องกลับมาเผชิญกับราคาสูงขึ้นทันทีหลังรัสเซียยกเลิกข้อตกลงความปลอดภัยในทะเลดำ ส่งผลให้ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และข้าวสาลีปรับขึ้นทันที 5-10% โดยไม่ทันตั้งตัว

คนที่แบกภาระหนักสุดขณะนี้ คือ เกษตรกรรายย่อยและรายเล็ก ที่มีเงินทุนหมุนเวียนอยู่ในวงจำกัดแต่ปัจจัยการผลิตมีการปรับราคาขึ้นตลอดทำให้ต้นทุนการเลี้ยงต่อกิโลกรัมสูง สำหรับราคาเฉลี่ยหมูมีชีวิตหน้าฟาร์ม 62-74 บาทต่อกิโลกรัม เทียบกับต้นทุนผลิตเฉลี่ยที่ 90 บาทต่อกิโลกรัม วิธีการในการตัดขาดทุนสะสมของเกษตร คือ การจับหมูไปทำหมูย่าง แทนการเลี้ยงจนได้น้ำหนักมาตรฐาน (110-120 กิโลกรัม) เพื่อตัดวงจรหมูที่จะออกสู่ตลาดและทำให้สถานการณ์ราคาดีขึ้น โดยเกษตรกรทางภาคใต้บางรายเริ่มใช้วิธีการนี้แล้ว

หนึ่งในตัวอย่างที่ปรับการเลี้ยงเพื่อความอยู่รอด คือ นางยุคล เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูในจังหวัดตรัง หันมาผลิตหมูขนาดเล็กลงน้ำหนัก 70-80 กิโลกรัม ซึ่งขนาดไม่ใหญ่จนเกินไปและมันไม่เยอะ ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะสำหรับส่งร้านหมูย่างในเมืองตรัง ซึ่งมีความต้องการสูง แทนการเลี้ยงจนได้น้ำหนักมาตรฐาน 100 กิโลกรัมขึ้นไป วิธีนี้ช่วยลดขาดทุนจากราคาหมูตกต่ำ สวนทางกับอาหารสัตว์ที่ปรับสูงขึ้นเรื่อย โดยราคาหมูหน้าฟาร์มขณะนี้ลดเหลือประมาณ 70-72 บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น

ขณะที่ผู้เลี้ยงหมูต้องหาทางให้กิจการรอดด้วยตัวเอง หน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ยังไม่มีความเคลื่อนไหว ทั้งที่เป็นหน่วยงานสำคัญในการกำกับดูแลทั้งราคาอาหารคน ราคาอาหารสัตว์ รวมถึงราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์จากโครงการประกันราคาขั้นต่ำพืชอาหารสัตว์โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วเหลือง ทั้งมาตรการที่เป็นภาษีและไม่ใช่ภาษี มีนัยสำคัญในห่วงโซ่การผลิตหมูเพราะอาหารสัตว์คิดเป็น 60-70% ของต้นทุนการผลิต การยกเลิกมาตรการดังกล่าวเป็นการลดต้นทุนให้เกษตรกร

นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังกำหนดมาตรการ 3 : 1 สำหรับการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กล่าวคือ ผู้นำเข้าต้องซื้อข้าวโพดในประเทศ 3 ส่วน เพื่อนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน ส่วนการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองต้องเสียภาษีนำเข้า 2% ยังคงเป็นภาระต้นทุนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของเกษตรกร ซึ่งการคงไว้ของมาตรการดังกล่าวเหมาะสมกับสถานการณ์ขณะนี้หรือไม่ ที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศราคา 12-12.50 บาทต่อกิโลกรัม สูงกว่าราคาประกันของรัฐที่ตั้งไว้ 8.50 บาทต่อกิโลกรัม ความชื้น 14.5% ภาครัฐไม่ได้จ่ายเงินชดเชยให้กับเกษตรกร 8-9 งวดติดต่อกัน

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวในการเสวนา เรื่อง “สารพันปัญหาถาโถม ภาคปศุสัตว์ ทางรอดหรือทางออก เป็นอย่างไร” ว่า สถานการณ์อาหารสัตว์มีแต่สูงขึ้นและราคาคงไม่ต่ำกว่านี้ แต่สูงเท่าไรคงเดายาก เพราะถ้าสงครามไม่เลิก ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ไม่ถอยแน่นอน นอกจากนี้ สภาพร้อนแล้งจาก “เอลนีโญ” ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตข้าวโพด ถั่วเหลือง และมันสำปะหลังโดยตรง หากผลผลิตน้อยและความต้องการสูงราคาก็จะสูงตามไปด้วย ซึ่งแต่ละปีไทยต้องนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 3 ล้านตัน และเมล็ดถั่วเหลือง 5 ล้านตัน เนื่องจากไทยผลิตพืชทั้ง 2 ชนิด ไม่เพียงพอต่อความต้องการ

ปัญหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ราคาสูง เป็นหนึ่งในวาระเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องบริหารจัดการ เพื่อให้ห่วงโซ่ภาคปศุสัตว์สามารถเดินหน้าได้โดยไม่หยุดชะงัก และสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับคนไทยเข้าถึงได้ในราคาที่เหมาะสมตามแนวทางการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน

AIS – กทม. เดินหน้าขยายผลหลักสูตร อุ่นใจไซเบอร์ สู่ 437 โรงเรียน

0

กรุงเทพมหานครฯ จับมือ AIS และภาคีเครือข่ายภาครัฐ ทั้งกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ขยายผลหลักสูตรการเรียนรู้ด้านทักษะดิจิทัล “หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ยกระดับการศึกษายุคดิจิทัลในการสร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ ส่งต่อความรู้ให้แก่ครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนในโรงเรียสังกัด กทม. ทั้ง 437 แห่ง ที่มีทั้งบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนรวมมากกว่า 250,000 คน ตั้งเป้าสร้างพลเมืองดิจิทัลพร้อมยกระดับดัชนีสุขภาวะดิจิทัล (Thailand Cyber Wellness Index) ของกลุ่มนักเรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานครฯ ให้มีอยู่ในระดับที่รู้เท่าทัน มีทักษะดิจิทัล สามารถใช้งานสื่อโซเชียลและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และเหมาะสม ผ่านการนำหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสื่อการเรียนการสอน ในวิชาวิทยาการคำนวณ สังคมและแนะแนว หรือแม้แต่รูปแบบการเรียนการสอนที่สอดคล้องเหมาะกับแต่ละสถาบันการศึกษา โดยเริ่มตั้งแต่ภาคการศึกษา 2566 เป็นต้นไป

นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “นโยบายด้านการศึกษา คือหนึ่งในภารกิจของกรุงเทพมหานคร ภายใต้นโยบายเรียนดีของผู้ว่าฯ กทม.ท่านชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่มีเป้าหมายสำคัญ คือ มุ่งพัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียนในสังกัด กทม.ให้มีความทันสมัยสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของโลกดิจิทัลและเทคโนโลยี โดยเฉพาะเนื้อหาหรือแม้แต่ทักษะด้านดิจิทัล ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานบนโลกออนไลน์ให้มีความปลอดภัยและเหมาะสม ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อจากผู้ไม่หวังดีและมิจฉาชีพ ซึ่งความร่วมมือกับ AIS รวมถึงกรมสุขภาพจิต และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในครั้งนี้ จะเป็นอีกก้าวสำคัญที่จะมาช่วยส่งเสริมนโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานครให้ยกระดับไปอีกขั้น

ด้วยการนำหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ที่จะถูกนำเข้าไปบูรณาการเป็นสื่อการเรียนการสอน ในวิชาวิทยาการคำนวณ สังคมและแนะแนว ให้แก่นักเรียน ในโรงเรียนสังกัด กทม. ทั้งโรงเรียนระดับอนุบาล – ประถมศึกษา, ระดับประถมศึกษา – มัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวม 437 แห่ง ซึ่งจะทำให้ทั้งบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียน ผู้ปกครอง รวมถึงประชาชนโดยรอบในชุมชนมากกว่า 250,000 คน ได้เข้าถึงองค์ความรู้ใหม่ๆ จนนำไปสู่การเสริมสร้างทักษะดิจิทัล การใช้งานสื่อดิจิทัล และเทคโนโลยีให้มีภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ไม่ตกเป็นเหยื่อของการใช้งานออนไลน์และมิจฉาชีพ สามารถการใช้ชีวิตบนโลกดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย”

ด้าน นางสายชล ทรัพย์มากอุดม รักษาการหัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า “จากผลการศึกษาล่าสุดของดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย หรือ Thailand Cyber Wellness Index พบว่า กลุ่มนักเรียนที่เราอาจจะเข้าใจว่าสามารถใช้งานสื่อดิจิทัลออนไลน์ได้อย่างเชี่ยวชาญในฐานะคนรุ่นใหม่ แต่ผลวิจัยกลับชี้ว่า เป็นอีกกลุ่มสำคัญที่ต้องเพิ่มทักษะความรู้ความเข้าใจให้สามารถใช้งานดิจิทัลได้อย่างถูกต้อง เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของภัยไซเบอร์ จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่วันนี้เราได้ทำงานร่วมกับ กรุงเทพมหานคร เพื่อขยายผลส่งต่อ หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ไปยังสถานศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานครฯ

หลังจากที่ก่อนหน้านี้เราเดินหน้านำหลักสูตรการเรียนรู้ดังกล่าว ส่งต่อไปยังบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กว่า 29,000 แห่งทั่วประเทศ รวมทั้งขยายผลไปสู่ระดับมหาวิทยาลัย ทั้งมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา หรือแม้แต่การส่งต่อไปยังภาคประชาชนผ่านหน่วยงานความมั่นคงอย่าง สกมช. โดยเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความร่วมมือกับ กรุงเทพมหานครในครั้งนี้ จะทำให้เยาวชน บุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนผู้เกี่ยวข้อง มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่จะยกระดับดัชนีสุขภาวะดิจิทัลของเด็กไทยและคนไทยให้อยูในระดับที่เพิ่มสูงขึ้นต่อไป”

หมายเหตุ : “หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์” นำเสนอเป็น 4 Professional Skill Module หรือ 4P4ป ที่ครอบคลุมทักษะดิจิทัล ดังนี้

  1. Practice: ปลูกฝังให้มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างถูกต้องและเหมาะสม
  2. Personality: แนะนำการปกป้องความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์
  3. Protection: เรียนรู้การป้องกันภัยไซเบอร์บนโลกออนไลน์
  4. Participation: รู้จักการปฏิสัมพันธ์ด้วยทักษะและพฤติกรรมการสื่อสารบนออนไลน์อย่างเหมาะสม

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://sustainability.ais.co.th/th/sustainability-projects/thailands-cyber-wellness-index

ก.ล.ต. – ตลาดหลักทรัพย์ฯ ร่วมถกหาแนวทางยกระดับการกำกับดูแลธุรกิจในตลาดทุน ให้เข้มแข็งมากขึ้น

0
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (คณะกรรมการ ก.ล.ต.) และคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมประชุมหารือแนวทางในการยกระดับการกำกับดูแลธุรกิจในตลาดทุนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ลงทุน โดยร่วมถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนมุมมองด้านแนวทาง และมาตรการในการป้องกันกรณีสร้างความเสียหายแก่ผู้เกี่ยวข้องในวงกว้าง รวมทั้งมีข้อสรุปในการทำงานร่วมกันระหว่างสองหน่วยงานให้ใกล้ชิดและต่อเนื่องมากขึ้น

ผู้สื่อข่าว รายงานว่า คณะกรรมการ ก.ล.ต. และคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการประชุม เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2566 ได้ร่วมหารือและแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับกระบวนการทำงานระหว่างกันในการกำกับดูแลธุรกิจในตลาดทุนเพื่อให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น รวมถึงร่วมถอดบทเรียนกรณีที่สร้างความเสียหายต่อผู้ลงทุนและผู้เกี่ยวข้องในวงกว้าง เพื่อทบทวนแนวทางการกำกับดูแลและมาตรการในการป้องกันในอนาคต ซึ่งคณะกรรมการของทั้งสองหน่วยงานได้เห็นพ้องต้องกันในระดับนโยบายและมาตรการต่าง ๆ

นายธวัชชัย พิทยโสภณ รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า “การประชุมร่วมกันของทั้งสองหน่วยงานถือเป็นโอกาสดีในการทำงานร่วมกันในระดับคณะกรรมการเป็นเชิงนโยบาย รวมทั้งจะมีการประชุมร่วมกันในระดับการจัดการและระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ซึ่งเน้นการทำงานอย่างใกล้ชิดและรวดเร็วเพื่อให้การกำกับดูแลธุรกิจในตลาดทุนไปในทิศทางเดียวกัน โดย ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ จะร่วมมือในการพัฒนาตลาดทุนไปข้างหน้าด้วยกัน รวมทั้งเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อให้ตลาดทุนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ลงทุน และมีกลไกที่ช่วยให้มีการคุ้มครองผู้ลงทุนจากการลงทุนในตลาดทุน”  

ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ดร. ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ตลาดหลักทรัพย์ฯมีการทำงานประสานความร่วมมือต่าง ๆ กับ ก.ล.ต. มาอย่างต่อเนื่อง การประชุมร่วมกันในครั้งนี้ช่วยให้สามารถเรียนรู้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดทิศทางในการปรับปรุงและพัฒนากลไกการกำกับดูแล เพื่อพัฒนาตลาดทุนร่วมกันในอนาคต โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ พร้อมให้ความร่วมมือและประสานงานอย่างใกล้ชิดต่อไป”

ซีพีเอฟ พัฒนาไข่ไก่สด ขึ้นทะเบียน “ฉลากลดโลกร้อน” เตรียมดัน ไข่ไก่ Cage Free ปลอดคาร์บอนรายแรกของเอเชีย

0

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เดินหน้าส่งเสริมผู้บริโภคได้รับประทาน “ไข่ไก่” สด แบรนด์ CP และไข่ไก่ Cage Free   ที่ได้มากกว่าคุณค่าโภชนาการ โปรตีนสูง พร้อมทั้งได้ร่วมดูแลสิ่งแวดล้อม  ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก บรรเทาผลกระทบจากภาวะโลกร้อน พัฒนาไข่ไก่สด ขึ้นทะเบียน “ฉลากลดโลกร้อน” (Carbon Footprint Reduction)  และเร็วๆ นี้ ไข่ไก่ เคจฟรี (Cage Free Egg) แบรนด์ ยูฟาร์ม (U Farm) ได้รับฉลาก “คาร์บอนนิวทรัล” (Carbon Neutral Product) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) เพิ่มขึ้น นับเป็น “ไข่ไก่ เคจฟรี” ปลอดคาร์บอนรายแรกของภูมิภาคเอเชีย  
 
นายสมคิด วรรณลุกขี ผู้อำนวยการใหญ่ ธุรกิจไก่ไข่ ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟ ให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ (Low Carbon Products) เพื่อร่วมลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากผลิตภัณฑ์อาหารของบริษัทฯ รวมถึง “ไข่ไก่” ที่ ซีพีเอฟได้ดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ไข่ไก่อย่างต่อเนื่องให้เหลือน้อยที่สุดผ่านโครงการต่างๆ เช่น การใช้สายพานลำเลียงไข่อัตโนมัติ การลดการสูญเสียไข่ไก่ (Food Loss) ตามแนวทางขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) รวมถึงการนำของเสียจากเปลือกไข่ไปใช้ประโยชน์ และการใช้พลังงานทางเลือก เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานชีวมวลจากระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น  จากความพยายามดังกล่าวส่งผลให้ในปีที่ผ่านมา ไข่ไก่สดปลอดสาร และไข่ไก่เคจฟรี 23 รายการ ของซีพีเอฟ ได้รับรอง “ฉลากลดโลกร้อน” และอีก 2 รายการ ได้รับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ จากอบก. และเมื่อเร็วๆ นี้ อบก. ขึ้นทะเบียน “ฉลากคาร์บอนนิวทรัล” กับ ผลิตภัณฑ์ไข่ไก่ Cage Free แบรนด์ยูฟาร์ม (U Farm) ในขนาดบรรจุ 2 รายการ ประกอบด้วยขนาด 4 ฟอง/แพ็ค และขนาด 10 ฟอง/แพ็ค นับเป็นไข่ไก่เคจฟรีปลอดคาร์บอนรายแรกของไทย และภูมิภาคเอเชีย  

สมคิด วรรณลุกขี ผู้อำนวยการใหญ่ ธุรกิจไก่ไข่ ซีพีเอฟ

“ไข่ไก่เคจฟรี ฉลากคาร์บอนิวทรัล หรือ ไข่ไก่ Cage Free ปลอดคาร์บอน เป็นอีกทางเลือกให้คนไทยได้บริโภคอาหารโปรตีนคุณภาพสูง ดีต่อสุขภาพ ดีต่อใจเพราะไข่ไก่เคจฟรี คุณภาพสูง สะอาด ปลอดภัย และช่วยลดโลกร้อน จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์  สนับสนุนผู้บริโภคมีส่วนร่วมจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก” นายสมคิดกล่าว 

ไข่ไก่เคจฟรี (คาร์บอนนิวทรัล) มีการจัดหาคาร์บอนเครดิตมาชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนที่เหลือซึ่งเกิดจากกระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทานจนถึงการกำจัดซากบรรจุภัณฑ์  เพื่อให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์เท่ากับศูนย์ ส่วนผลิตภัณฑ์ไข่ไก่สดที่ได้รับฉลากลดโลกร้อน ของซีพีเอฟ มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของไข่ไก่ทั่วไปถึงร้อยละ 30 และปีที่ผ่านมาสามารถช่วยลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 617,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า   

นอกจากนี้ ไข่ไก่ Cage Free ยังมาจากแม่ไก่อารมณ์ดี สายพันธุ์คัดพิเศษ เลี้ยงแบบปล่อยอิสระ หรือ แบบไม่ใช้กรงในโรงเรือนระบบปิดตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ขั้นสูง ได้รับมาตรฐานกรมปศุสัตว์ และมาตรฐานสากล  ใช้ระบบอัตโนมัติในการควบคุมสภาพแวดล้อมการเลี้ยงสัตว์ รวมถึงระบบสายพานลำเลียงไข่จากจุดวางไข่ไปยังห้องเก็บไข่ มีระบบความปลอดภัยทางชีวภาพสูง  เลี้ยงด้วยอาหารที่ผลิตจากธัญพืชเสริมด้วยโปรไบโอติก ช่วยให้แม่ไก่อยู่อย่างสุขสบาย อารมณ์ดีไม่เครียด แข็งแรง ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะตลอดการเลี้ยง “ไข่ไก่เคจฟรี” แบรนด์ยูฟาร์ม จึงสะอาด ปลอดภัย มีความสดกว่าไข่ไก่ทั่วไป ไม่มีกลิ่นคาว ไข่แดงมีสีส้มสด นูนสวย นอกจากนี้ ไข่ไก่เคจฟรี ยังใช้บรรจุภัณฑ์กระดาษที่ใช้วัสดุรีไซเคิล 100% คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและลดปัญหาขยะจากบรรจุภัณฑ์อีกด้วย  

ทั้งนี้ ซีพีเอฟ ยังเดินหน้าหาแนวทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตไข่ไก่อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ การส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกในกระบวนการผลิตเพิ่มเติม เช่น การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวลผลิตไบโอแก๊สจากมูลไก่เป็นกระแสไฟฟ้าใช้ในฟาร์ม และตั้งเป้าพัฒนาฟาร์มไก่ไข่ต้นแบบที่ใช้พลังงานหมุนเวียน 100%  
ปัจจุบัน ซีพีเอฟ มี 818 ผลิตภัณฑ์ที่มีการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานสากล โดยกว่า 56 ผลิตภัณฑ์ จัดเป็นผลิตภัณฑ์ได้รับ “ฉลากลดโลกร้อน” และมีไข่ไก่ 2 รายการเป็นสินค้าปลอดคาร์บอน ซึ่งเป็นการสนับสนุนเป้าหมายในปี 2573 ร้อยละ 40 ของรายได้บริษัทฯ มาจากผลิตภัณฑ์สีเขียว (CPF Green Revenue)

สัตวแพทย์ ย้ำ เลือกซื้อเนื้อหมูจากผู้ผลิตมาตรฐาน ลดเสี่ยงโรค

0

สัตวแพทย์จุฬาฯ ยืนยัน ประเทศไทยมีมาตรฐานการเลี้ยงและการผลิตสุกรที่ดี มีการควบคุมตามหลักการสากล มีความปลอดภัยสูง มีการควบคุมการเคลื่อนย้ายสุกรและซากสุกรอย่างเข้มงวด แนะผู้บริโภครับประทานเนื้อหมูปรุงสุกเท่านั้น โดยเลือกซื้อเนื้อหมูจากผู้ผลิตที่ได้มาตรฐาน และได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์

ศ.น.สพ.ดร.เผด็จ ธรรมรักษ์

ศ.น.สพ.ดร.เผด็จ ธรรมรักษ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ประเทศไทยมีแนวทางในการป้องกันโรคระบาดสัตว์ตามมาตรฐานสากล มีการตรวจสอบโดยกรมปศุสัตว์อย่างเคร่งครัด ควบคุมการเคลื่อนย้ายสุกรและซากสุกรอย่างเข้มงวด เพื่อสร้างหลักประกันเนื้อสัตว์ปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหารให้กับผู้บริโภค โดยเฉพาะโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever: ASF) ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อไวรัส กลุ่ม Asfivirus เป็น DNA virus ที่ระบาดเฉพาะในสุกรเท่านั้น โดยไม่ติดต่อสู่คนและไม่ติดต่อหรือเป็นอันตรายต่อสัตว์ชนิดอื่น

“ขอยืนยันว่า เชื้อโรค ASF ไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ ผู้บริโภคสามารถรับประทานเนื้อหมูได้อย่างปลอดภัย โดยจะต้องให้ความร้อนปรุงสุกที่อุณหภูมิสูงกว่า 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาทีขึ้นไป เพื่อทำลายเชื้อโรค ASF และเชื้ออื่น ๆ ที่อาจติดมาด้วย เช่น โรคไข้หูดับ โรคพยาธิ หรือโรคที่ทำให้เกิดท้องเสีย ที่สำคัญต้องเลือกซื้อเนื้อหมูจากผู้ผลิตและจำหน่ายที่ได้มาตรฐาน มีแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ มีการรับรองจากกรมปศุสัตว์” ศ.น.สพ.ดร.เผด็จ กล่าว

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้นำระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมในสุกร (Good Farming Management : GFM) มาส่งเสริมการเลี้ยงสุกรของเกษตรกรรายเล็กและเกษตรกรรายย่อย ให้มีการจัดการที่มีระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) เพื่อลดปัญหาจากโรคระบาด และส่งเสริมให้สินค้าปศุสัตว์มีความปลอดภัย โดยระบบ GFM ประกอบด้วยการจัดการ 8 ด้าน คือ การจัดพื้นที่เลี้ยงและโครงสร้างการจัดการโรงเรือนหรือเล้าและอุปกรณ์ การจัดการยานพาหนะ การจัดการบุคคล การจัดการด้านสุขภาพ การจัดการอาหาร น้ำ และยาสัตว์ การจัดการข้อมูล และการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีขั้นที่ปฏิบัติได้ง่าย ไม่ซับซ้อน และต้นทุนต่ำ สามารถป้องกัน และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากโรคระบาดได้

น.สพ.ดร.เผด็จ กล่าวว่า จากกรณีล่าสุดที่มีการลักลอบนำเข้าผลิตภัณฑ์สุกรเข้ามาในประเทศไทย อาจทำให้สถานการณ์การระบาดของโรคกลับมาอีก หากเกิดการติดเชื้อโรค ASF ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงจะทำให้สุกรตายเป็นจำนวนมาก และเกษตรกรจะต้องทำลายสุกรที่มีความเสี่ยงทิ้งทั้งหมด ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค จึงควรซื้อเนื้อหมูจากร้านหรือผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ และได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีเพียงประเทศเวียดนามเท่านั้นที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้วัคซีนที่ผลิตขึ้นเองในประเทศเป็นตัวแรกของโลก เพื่อป้องกันโรค ASF ในเชิงพาณิชย์ ขณะที่ประเทศอื่นๆ ยังไม่มีวัคซีนและวิธีการรักษาที่จำเพาะ ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรของไทย ซึ่งเป็นความมั่นคงทางอาหาร หากผู้บริโภคพบเห็นเนื้อหมูต้องสงสัยไม่ทราบแหล่งที่มาให้แจ้งกรมปศุสัตว์เพื่อเข้าควบคุมและตรวจสอบได้ทันที

Chef Cares ต้อนรับวันแม่ 2566 ด้วยเมนู ‘บะหมี่เป็ดซอสทรงเครื่อง’ สูตรลับความอร่อยประจำบ้าน

0

เชฟแคร์ส (Chef Cares) เอาใจแม่-ลูก คู่ผูกพัน ช่วงเทศกาลวันแม่ 2566 ด้วยเมนูเฉพาะกิจ ‘บะหมี่เป็ดซอสทรงเครื่อง’ สูตรลับของคุณหญิงเทวี เจียรวนนท์ เมนูประจำบ้านเจียรวนนท์ที่คนในครอบครัวชื่นชอบ ด้วยความพิถีพิถันและสูตรที่เป็นเอกลักษณ์ เชฟแคร์ส จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการส่งมอบความอร่อยผ่านวันสำคัญครั้งนี้ ด้วยอาหารแช่แข็ง Limited Edition โดยกำไรทั้ง 100% ร่วมตอบแทนสังคมผ่านมูลนิธิเชฟแคร์สเช่นเคย วางจำหน่ายแล้ววันนี้ ในราคา เพียง 69 บาทที่ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ทุกสาขาทั่วไทย

สำหรับ ‘บะหมี่เป็ดซอสทรงเครื่อง’ รังสรรค์จากวัตถุดิบหลักอย่างเนื้อเป็ดคุณภาพ ซึ่งอุดมด้วยธาตุเหล็กที่ช่วยในการไหลเวียนของเลือด ทั้งยังมีวิตามิน A B1 B2 E K ที่ดีต่อร่างกาย นำมาตุ๋นด้วยกรรมวิธีพิเศษให้เนื้อเป็ดแน่นแต่นุ่มลิ้น ปรุงด้วยซอสกระเทียมพริกไทยที่ช่วยลดน้ำตาลในเลือด คลอเลสเตอรอล และความดัน ที่เข้มข้น ให้รสชาติกลมกล่อม ราดเป็นน้ำขลุกขลิกบนเส้นบะหมี่ไข่ทำสดใหม่ เหนียวนุ่มหนึบ กำลังดี แล้วนำมาผ่านกระบวนการผลิตเป็นอาหารแช่แข็ง (Frozen Food) ตามมาตรฐานสากล ที่คงคุณค่าโภชนาการและรักษาความสดใหม่ให้อร่อยได้ยาวนาน

เชฟแคร์ส เป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ภายใต้ชื่อ บริษัท เชฟแคร์ส โปรเจกต์ จำกัด สร้างรายได้ด้วยตัวเองและนำรายได้ช่วยเหลือสังคมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดย เชฟแคร์ส โปรเจกต์ จะร่วมมือกับเชฟระดับแถวหน้าของประเทศไทยและของโลก ผลิตอาหารพร้อมรับประทานที่ครบถ้วนด้านคุณค่าทางโภชนาการ และนำกำไรทั้ง 100% คืนสู่สังคม “ผ่านมูลนิธิเชฟแคร์ส” ที่มุ่งสร้างโอกาสและมอบแนวทางประกอบอาชีพในวงการอาหารแก่เด็ก เยาวชนผู้ห่างไกล รวมถึงเยาวชนที่เคยหลงผิดและเด็กด้อยโอกาสในการเป็นเชฟมืออาชีพ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี ภายใต้โครงการ Chef Cares Dream Academy