ระวัง 7 รูปแบบการชักชวนลงทุน

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เตือนภัยกลโกง “หลอกให้รัก แล้วจากไป พร้อมเงินเรา

การหลอกลวงให้ลงทุนผ่านช่องทางโซเชียลยังมีอย่างต่อเนื่อง โดยมิจฉาชีพใช้กลวิธีต่าง ๆ นานา มาหลอกลวงให้ลงทุนในสินทรัพย์แปลกใหม่ โดยเฉพาะการแอบอ้างคริปโทเคอร์เรนซี ซึ่งมีผู้ตกเป็นเหยื่อจำนวนมาก แม้วิธีการและสินทรัพย์เปลี่ยนไป แต่รูปแบบยังเหมือนเดิม คือ หลอกให้เชื่อใจและลวงให้ลงทุนหรือซื้อขายโดยอ้างว่าจะได้รับผลตอบแทนสูง.ที่พบเห็นมากในช่วงนี้ คือ มิจฉาชีพซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ สร้างโปรไฟล์หน้าตาดี ใช้วิธีเข้าหาผ่านโซเชียลมีเดีย หรือแอปพลิเคชันหาเพื่อน/หาคู่ สร้างความสนิทสนม หลอกให้เชื่อใจ ที่เรียกว่า Romance Scam.จากนั้นพยายามแนะนำหรือชักจูงให้ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีในแพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชันต่างประเทศ ซึ่งในช่วงแรกก็ยังสามารถถอนเงินได้ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ แต่เมื่อลงเงินไปมาก ๆ เริ่มถอนเงินไม่ได้ สุดท้ายคนชวนหายตัวไป ลบแอคเค้าท์หนี

กรณีดังกล่าวส่วนใหญ่จะติดตามยากเพราะเป็นต่างชาติและพูดคุยกันผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลัก.ก.ล.ต. จึงขอเตือนภัย หากพบเห็นการเข้าหาในลักษณะดังกล่าว ให้ตั้งสติและฉุกคิดก่อนตัดสินใจลงทุน โดยตระหนักถึง 7 รูปแบบการชักชวนลงทุนที่ต้องพึงระวังไว้เสมอ หากพบเห็นการชักชวนลักษณะดังกล่าวที่ไม่น่าไว้วางใจ หรือถูกหลอกลวง ให้รีบแจ้งเบาะแสไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือแจ้งมายังศูนย์บริการประชาชน ก.ล.ต. โทร. 1207 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อตรวจสอบต่อไป หรือตรวจเช็กรายชื่อผลิตภัณฑ์ได้ที่แอปพลิเคชัน SEC Check First

ที่พบมากในช่วงนี้ มิจฉาชีพซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ สร้างโปรไฟล์หน้าตาดี ใช้วิธีเข้าหาโดยผ่านโซเชียลมีเดีย หรือแอปพลิเคชันหาเพื่อน/หาคู่ ที่เรียกว่า Romance Scam

จากนั้นจะพยายามสร้างความสนิทสนมในแบบต่าง ๆ เช่น ทำทีว่ามาช่วยสอน มาขอเป็นเพื่อน หรือเป็นมากกว่าเพื่อน หลอกให้เหยื่อเชื่อใจ บางรายถึงขั้นซื้อของขวัญหรือดอกไม้ส่งให้ โดยจะพูดคุยไประยะหนึ่งจนเราตายใจ

เมื่อพูดคุยสนิทสนมกันไปสักระยะหนึ่ง จะเริ่มชวนให้ลงทุน หรือซื้อขายคริปโท ซึ่งอาจจะเริ่มให้ซื้อคริปโทจาก exchange ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของทางการ จากนั้นก็จะแนะนำให้โอนคริปโทไปยังแพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชั่นต่างประเทศอีกทีหนึ่ง

มิจฉาชีพมักจะบอกวิธีการลงทุนเป็นขั้นตอน แม้กระทั่งช่วงเวลาควรซื้อและเวลาควรขาย ซึ่งเห็นผลตอบแทนกลับมาจริง และสามารถถอนเงินออกมาได้ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ พร้อมกับหว่านล้อมหรือเชียร์ให้ใส่เงินเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้ผลตอบแทนมากขึ้นไปอีก

หลังถูกเชียร์ให้ใส่เงินเพิ่ม หากผู้เสียหายหลงเชื่อและนำเงินไปลงมากขึ้น ก็จะเริ่มเกิดปัญหาต่าง ๆ ที่ทำให้ถอนเงินไม่ได้ ซึ่งมิจฉาชีพจะอ้างเหตุผลต่าง ๆ เช่น เว็บล่ม รอสักพักจะกลับมา หรือติดเรื่องภาษีต้องใส่เงินเพิ่มเพื่อเสียภาษี

เมื่อเวลาผ่านไปนาน และยังนำเงินกลับมาไม่ได้ ก็มักจะปรากฏว่าคนแนะนำหายตัวไปแล้ว ลบแอคเค้าท์หนี หรือไม่สามารถติดต่อได้

ที่ผ่านมา มีผู้เสียหายจำนวนมากร้องเรียนผ่าน ก.ล.ต. และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องว่า ตกเป็นเหยื่อถูกหลอกให้ซื้อขายคริปโทโดยรูปแบบกลโกงดังกล่าว ทำให้สูญเสียทั้งเงินและเหรียญคริปโท ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจติดตามได้ยากหรือต้องใช้เวลาติดตามนาน เพราะเป็นต่างชาติและพูดคุยกันผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลัก

สุดท้ายนี้ ฝากไว้ให้ตระหนักถึง 7 รูปแบบการชักชวนลงทุนที่ต้องระวัง หากมีใครมาชักชวนให้ลงทุนสินทรัพย์ใหม่ ๆ หรือซื้อขายคริปโท ที่มีลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่งใน 7 รูปแบบนี้ ให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ

หากพบการชักชวนที่น่าสงสัย แจ้งเบาะแสหรือร้องเรียนได้ที่ ศูนย์บริการประชาชน สำนักงาน ก.ล.ต. โทร. 1207 ตลอด 24 ชั่วโมง