Home Blog Page 353

CP-CPF มอบหน้ากากอนามัยซีพีช่วยแรงงานต่างชาติ ผ่าน 3 สถานทูต

0

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ ซีพีเอฟ มีความห่วงใยแรงงานต่างชาติในสถานการณ์โควิด-19 ดังนั้น นายสุภกิต เจียรวนนท์ ประธานกรรมการเครือซีพีและซีพีเอฟ จึงมีดำริให้ตนเป็นผู้แทนนำหน้ากากอนามัยซีพี มอบผ่านเอกอัครราชทูต 3 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา และ สปป.ลาว เพื่อแจกจ่ายสู่แรงงานต่างชาติในไทย

ที่ผ่านมา ซีพีเอฟให้การดูแลแรงงานภายในโรงงานด้วยมาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูงสุด เพราะเมื่อพนักงานปลอดภัยก็จะสามารถผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อผู้บริโภคทุกคนได้อย่างราบรื่น ขณะเดียวกันก็คำนึงถึงแรงงานสัญชาติต่างๆ ที่แม้ไม่ใช่พนักงานของบริษัท แต่ทุกคนล้วนต้องการความปลอดภัยขั้นพื้นฐานเช่นกัน จึงได้นำหน้ากากอนามัยซีพี จำนวน 90,000 ชิ้น มอบผ่านสถานทูตทั้ง 3 แห่งๆละ 30,000 ชิ้น   เพื่อแจกจ่ายสู่แรงงานต่างชาติที่พำนักอยู่ในไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เสี่ยง   

นายฟาน จี ทั่น เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ประจำประเทศไทย  เปิดเผยว่า ซีพีเอฟมีธุรกิจอยู่ในประเทศเวียดนาม สร้างงานสร้างอาชีพให้ชาวเวียดนาม ตลอดจนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของเวียดนามเป็นอย่างมาก ครั้งนี้แม้การระบาดของโควิด-19 จะเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่บริษัทก็ยังคงห่วงใยและส่งมอบหน้ากากอนามัยเพื่อชาวเวียดนามที่พำนักอยู่ที่นี่ด้วย จึงขอรับมอบความปรารถนาดีนี้ด้วยความขอบคุณยิ่ง และเชื่อว่าประเทศไทยจะก้าวผ่านสถานการณ์นี้ได้สำเร็จในเร็วๆนี้   

ด้าน นายอูก ซอร์พวน เอกอัครราชทูตกัมพูชา ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ชาวกัมพูชาที่เป็นพนักงานของซีพีเอฟได้รับการดูแลจากบริษัทอย่างเท่าเทียมกับแรงงานไทย ซึ่งประเทศกัมพูชาต้องขอขอบคุณอย่างมากแล้ว ครั้งนี้ในสถานการณ์โควิด-19บริษัทยังแบ่งปันความเอื้อเฟื้อมาถึงชาวกัมพูชาคนอื่นๆที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินไทยด้วย ประเทศกัมพูชาขอขอบคุณอย่างยิ่ง และขอให้ความดีนี้ส่งเสริมให้ประเทศไทยก้าวผ่านวิกฤตนี้ได้โดยเร็ว   

ส่วน นายแสง สุขะทิวง เอกอัครราชทูต สปป.ลาว ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ประทับใจในน้ำใจไมตรีของคนไทย และบริษัทไทยที่เอาใจใส่ชาว สปป.ลาวที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และขอบคุณคนไทยและซีพีเอฟอย่างยิ่ง   

ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดตัวเว็บใหม่ตอบโจทย์ทุกการลงทุน

0

นางสาวรินใจ ชาครพิพัฒน์ รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานการตลาด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ มุ่งขยายฐานผู้ลงทุนต่อเนื่อง เพื่อให้คนไทยสนใจการออมการลงทุนและใช้เครื่องมือในตลาดทุนเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเงินในอนาคตได้เหมาะสม โดยในปี 2563 ที่ผ่านมา ผู้ลงทุนและผู้ที่สนใจศึกษาข้อมูลและเรียนรู้ผ่านช่องทางออนไลน์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์เฉลี่ยต่อเดือนกว่า 75 ล้านเพจวิว และมีจำนวนผู้ติดตามผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียกว่า 2 ล้านคน ซึ่งเติบโตกว่า 20% สะท้อนถึงความต้องการเรียนรู้การลงทุนในรูปแบบดิจิทัลที่เพิ่มสูงขึ้น

รินใจ ชาครพิพัฒน์ รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานการตลาด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ล่าสุดตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้พัฒนาเว็บไซต์ www.setinvestnow.com เพื่อรองรับการเข้าถึงผู้ลงทุนได้กว้างขึ้นผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล โดดเด่นด้วยบริการในรูปแบบ personalization ให้ผู้ลงทุนสามารถเลือกเรียนรู้เนื้อหา ผลิตภัณฑ์ และแนวทางการลงทุนที่เหมาะกับตนเอง ตอบโจทย์ตรงตามไลฟ์สไตล์และเป้าหมายการลงทุน ด้วยฟังก์ชันที่ใช้งานง่าย สะดวก รวดเร็ว

www.setinvestnow.com นำเสนอเนื้อหาหลากหลายรูปแบบ ทั้ง e-Learning, คลิปความรู้, บทความ, หนังสือออนไลน์ ฯลฯ พร้อมแคมเปญและกิจกรรมที่น่าสนใจสำหรับผู้ลงทุน รวมถึงสามารถเชื่อมโยงไปสู่ผู้ให้บริการเพื่อเปิดบัญชีซื้อขายหุ้น กองทุนรวม และอนุพันธ์ ผู้สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ใหม่ได้แล้ววันนี้พร้อมสามารถติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวของตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ง่ายๆ ผ่านทาง Social Media เพียงค้นหาด้วยคำว่า “SET Thailand”

เคาะราคาหุ้นโออาร์ 16-18 บาท เปิดจองซื้อ 24 ม.ค.นี้

0

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) หลังมีความคืบหน้าการกำหนดช่วงราคาเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก ( IPO) ของ บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ (OR) โดยเคาะราคาหุ้น OR ระหว่าง 16-18 บาทต่อหุ้น คาดว่า OR จะสามารถประกาศราคาเสนอขายสุดท้ายอย่างช้าภายในเวลา 9.00 น. ของวันที่ 3 ก.พ.64 ผ่านเว็บไซต์ www.pttor.com

ผู้จองซื้อรายย่อย สามารถจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ OR ได้ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2564 ถึง เวลา 12:00 น. ของวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 lส่วนผู้ลงทุนของ ปตท. เฉพาะกลุ่มที่มีสิทธิได้รับจัดสรรหุ้น สามารถซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ OR ในส่วนที่จัดสรรไว้ให้แก่ผู้ถือหุ้นของ ปตท. (Pre-emptive Rights) ได้ระหว่างวันที่ 25-28 ม.ค.64

สามารถจองซื้อหุ้น OR ผ่านตัวแทนจำหน่ายหุ้น ประกอบด้วย ธนาคารกสิกรไทย จ้ากัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดย

(1) การจองซื้อผ่านระบบออนไลน์ (Online) ตามรายละเอียดที่ตัวแทนจำหน่ายหุ้นแต่ละรายกำหนด

(2) การยื่นใบจองซื้อ ณ สำนักงานและสาขาของตัวแทนจำหน่ายหุ้นภายในวันและเวลาทำการ  หรือ สำนักงานใหญ่ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จ้ากัด (มหาชน) โดยมีที่ตั้งอยู่ที่ อาคารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาสำนักพหลโยธินเลขที่ 400/22 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นตัวแทนในการรับจองซื้อหุ้นในส่วน Pre-emptive Rights และ

(3) การจองซื้อผ่านทางโทรศัพท์บันทึกเทป (สำหรับผู้จองซื้อที่มีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เท่านั้น)

ทั้งนี้ตัวแทนในการรับจองซื้อขอสงวนสิทธิงดรับใบจองซื้อและเอกสารประกอบการจองซื้อทางไปรษณีย์ หรือผ่านสาขาของธนาคารพาณิชย์ทั่วประเทศ 

ร้านเชสเตอร์ คุมเข้ม 11 มาตรการป้องกันโควิด

0

นางรุ่งทิพย์ พรหมชาติ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เชสเตอร์ฟู้ด จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจร้านเชสเตอร์ แบรนด์ร้านอาหารฟาสต์ฟูดไก่ย่าง และเมนูข้าวสไตล์ไทยของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ร้านเชสเตอร์ ได้เพิ่มมาตรการอย่างเข้มงวด เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และลดความเสี่ยงในการระบาดของโควิด-19 พร้อมทั้งสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของอาหารและคลายความกังวลในเรื่องความสะอาดของผู้บริโภค โดยมีมาตรการดังนี้ 

รุ่งทิพย์ พรหมชาติ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เชสเตอร์ฟู้ด จำกัด

1. อุปกรณ์บริการภายในร้าน อาทิ ประตูเข้าร้าน จุดบริการเครื่องดื่ม โต๊ะรับประทานอาหาร ต้องทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทุก 1 ชั่วโมง 

2. ตรวจเช็คอุณหภูมิร่างกายพนักงานก่อนเริ่มปฎิบัติงาน หากพบว่ามีอาการป่วยอนุญาตให้พนักงานหยุดงานเพื่อไปพบแพทย์ทันที 

3. พนักงานต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาขณะปฏิบัติงาน พนักงานปรุงอาหารและบริการลูกค้าจุดชำระเงินจะต้องใส่ Face Shield ถุงมือ ผ้ากันเปื้อน และล้างมือด้วยสบู่ทุก 1 ชั่วโมง

4. บริการเจลและแอลกอฮอล์ให้กับลูกค้าภายในร้าน  

5. เว้นระยะห่างในการต่อคิวสั่งอาหารอย่างน้อย 1.5 เมตร 

6. แนะนำให้ชำระเงินผ่านบัตรเครดิต หรือ TrueMoney Wallet หรือ QR Code หากลูกค้าชำระด้วยเงินสด ทางร้านจะมีถาดรองธนบัตรเพื่อลดการสัมผัสโดยตรง 

7. บริการช้อนส้อมอนามัยบรรจุซองและแก้วน้ำมีฝาปิด พร้อมทั้งซอสรูปแบบซองและพริกน้ำปลาแบบถ้วย 

ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทางร้านเชสเตอร์ สาขาในห้างสรรพสินค้ายังให้บริการตามปกติ ตั้งแต่เวลา 10.00-21.00 น. ส่วนในจุดบริการปั้มน้ำมัน ทางร้านได้ปรับเวลาเปิด-ปิด เป็นเวลา 06.00-21.00 น. และสาขาสยาม เวลา 07.00-21.00 น. เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดในสถานการณ์ขณะนี้

สำหรับ แผนกเดลิเวอรี่ เชสเตอร์มีมาตรการ คือ

1. พนักงานต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันไวรัสโควิด-19 สำหรับร้านอาหารอย่างเคร่งครัด ดูแลความสะอาดของกระเป๋าจัดส่งสินค้าและรถขนส่งตามขั้นตอนมาตรฐานที่กำหนด

2. จัดทำอาหารตามรายการออเดอร์ให้ได้ตามมาตรฐานทั้งเรื่องคุณภาพสินค้า ความสะอาด พร้อมทั้งแพ็ครายการสินค้า และตรวจสอบให้ถูกต้องครบถ้วน

3. ส่งสินค้าให้ลูกค้าโดยเว้นระยะห่าง 2 เมตร หรือวางสินค้าในจุดที่ลูกค้าแจ้ง เพื่อลดการสัมผัส

4. นำเงินทอนลูกค้าใส่ถุงและปิดปากถุง วางในจุดที่ลูกค้าแจ้ง หรือบนกระเป๋า CDS 

สำหรับโปรโมชั่นที่ร้านเชสเตอร์ขณะนี้ ชุดข้าวไก่เผ็ดเชสเตอร์ เฟรนช์ฟรายส์ขนาดปกติ เป๊ปซี่ 16 ออนซ์ ลดเหลือ 84 บาท จากเดิมราคา 168 บาท และไก่ย่าง 4 ชิ้น ลดเหลือ 99 บาท จากเดิม 160 บาท ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 28 กุมภาพันธ์ 2564 

ส่วนบริการเดลิเวอรี่ มีโปรโมชั่นพิเศษดังนี้ ข้าวไก่กรอบซอสน้ำปลา และสไปซี่วิงส์ 3 ชิ้น พร้อมเป๊ปซี่ 16 ออนซ์ ซื้อ 1 แถม 1 ลดเหลือ 199 บาท จากราคาเดิม 398 บาท ไก่ย่าง 4 ชิ้น ลดเหลือ 99 บาท จากเดิม 160 บาท รวมทั้งเซ็ตหั่นครึ่งสูงสุด 50% ได้แก่ SET 1 ชิกเก้นฟิงเกอร์ 6 ชิ้น ไก่ไม่มีกระดูก 2 ชิ้น เฟรนช์ฟรายส์ขนาดปกติ เป๊ปซี่ 16 ออนซ์ ราคา 98 บาท จากเดิม 197 บาท SET 2 สไปซี่วิงส์ 4 ชิ้น ชิกเก้นริบส์ 5 ชิ้น เฟรนช์ฟรายส์ขนาดปกติ เป๊ปซี่ 16 ออนซ์ ราคา 116 บาท จากเดิม 233 บาท และ SET 3 สไปซี่วิงส์ 10 ชิ้น ไก่ไม่มีกระดูก 2 ชิ้น เฟรนช์ฟรายส์ขนาดปกติ เป๊ปซี่ 16 ออนซ์ 2 แก้ว ราคา 191 บาท จากเดิม 383 บาท ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 20 มกราคม 2564 โดยสามารถโทรสั่งได้ที่เบอร์ 1145 หรือคลิก www.chesters.co.th 

เอไอเอส จ่ายค่าความถี่ 700 MHz งวดแรก 1.8 พันล้านบาท ยืนหนึ่งครองคลื่นความถี่ครบและมากสุด

0

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์  อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ในฐานะผู้บริหาร บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (เอดับบลิวเอ็น) ผู้ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz (723 – 733 / 778 -788 MHz ) ในมูลค่ารวม 15,584  ล้านบาท เป็นตัวแทนชำระค่าคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz งวดที่ 1 เป็นเงินจำนวน 1,881,488,000 บาท โดยมี พลเอกสุกิจ ขมะสุนทร ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นผู้รับมอบ 

นายสมชัย เปิดเผยว่า เอไอเอสได้เข้าประมูลคลื่น 5G แบบเต็ม Block ในทุกย่านความถี่ โดยมีครบทั้งย่านความถี่ต่ำ ย่านความถี่กลาง และย่านความถี่สูง ครอบคลุมการใช้งานทุกรูปแบบ ประกอบด้วย คลื่น 700 MHz จำนวน 30 MHz (2×15 MHz), คลื่น 2600 MHz จำนวน 100 MHz และคลื่น 26 GHz จำนวน 1200 MHz รวมเฉพาะคลื่นความถี่ที่จะนำมาให้บริการ 5G ทั้งหมดอยู่ที่ 1330 MHz และเมื่อรวมกับคลื่นความถี่เดิมที่มีจำนวนมากที่สุดอยู่แล้ว ส่งผลให้เอไอเอสยังคงยืนหยัด ในฐานะผู้นำอันดับ 1 ที่มีคลื่นความถี่ในการให้บริการ 3G,4G และ 5G มากที่สุดในอุตสาหกรรม รวม 1420 MHz (ไม่รวมคลื่นที่เกิดจากความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ)

ถือได้ว่า เครือข่าย AIS 5G มีความแข็งแกร่งที่สุดในประเทศ เพราะนอกจากจะเป็นเพียงรายเดียวที่มีจำนวนคลื่นมากที่สุดในแต่ละย่านแล้ว ยังเป็นเพียงรายเดียวในอุตสาหกรรมที่มีปริมาณแบนด์วิดท์ภาพรวมในระดับ World’s Best-In-Class ส่งผลให้เครือข่ายของเอไอเอสมีขีดความสามารถในการสร้างสรรค์ ออกแบบ Solutions , ปรับเปลี่ยน,Tailor Made เพื่อตอบโจทย์แต่ละอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะในภาพรวมเครือข่าย AIS 5G จะมีความเร็ว Speed ที่สูงกว่าถึง 24 เท่าและมีขีดความสามารถในการรองรับการใช้งาน Capacity ที่มากกว่าถึง 30 เท่า พร้อม Latency ที่ต่ำกว่าเดิมถึง 10 เท่า ทั้งนี้หมายรวมถึงการยกระดับคุณภาพการให้บริการ 4G ปัจจุบันด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ บริษัทตระหนักอยู่เสมอว่า คลื่นความถี่ คือทรัพยากรสาธารณะอันทรงคุณค่า ดังนั้นหลังจากการประมูลได้แต่ละคลื่นมาให้บริการ เอไอเอส จึงเร่งเดินหน้าพัฒนาเครือข่าย เพื่อส่งต่อประโยชน์ไปยังประชาชน และ ทุกภาคส่วนอย่างรวดเร็วที่สุด ทำให้ล่าสุด ได้รับการรับรองจาก กสทช.ว่า เอไอเอส สามารถขยายเครือข่ายในคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz ได้เกินกว่าที่ กสทช.กำหนด (คลื่น 1800 MHz ภายใน 4 ปีแรก ต้องขยายโครงข่ายให้ได้ 40% ของจำนวนประชากร โดยเอไอเอสขยายได้ 88.47% ส่วนคลื่น 900 MHz ภายใน 4 ปีแรก ต้องขยายโครงข่ายให้ได้ 50% ของจำนวนประชากร โดยเอไอเอส ขยายได้ 93.59%) และเอไอเอสยังคงเดินหน้านำเทคโนโลยี 5G จากทุกคลื่นความถี่ ซึ่งมีคุณสมบัติที่ดีแตกต่างกัน มาสร้างประโยชน์ทันที ตามเจตนารมณ์ของภาครัฐที่ต้องการให้ประเทศไทยก้าวสู่ Digital Intelligent Nation อย่างสมบูรณ์

ซีพีเอฟ ผนึกทรู-โอสถสภา ส่งมอบความช่วยเหลือแรงงานเมียนมาในสมุทรสาคร

0

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ ซีพีเอฟ นายสุภกิจ วรรธนะดิษฐ์ หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มด้านการพาณิชย์ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น และ นายซี เทียน โปว ประธานผู้บริหารธุรกิจระหว่างประเทศ  บมจ.โอสถสภา ร่วมกันมอบผลิตภัณฑ์อาหาร, ซิมอินเตอร์เน็ต และเครื่องดื่ม ภายใต้โครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” ซึ่งประกอบด้วย ไข่ไก่ ข้าวสาร น้ำมันพืช ซิมทรู และเครื่องดื่ม ให้แก่ มร. อู เมียว เมียนตัน (HE U MYO MYINT THAN) เอกอัครราชทูตเมียนมา ประจำประเทศไทย เพื่อร่วมช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนจากสถานการณ์โควิด-19 ให้แก่แรงงานชาวเมียนมาที่พำนักอยู่ในจังหวัดสมุทรสาคร ณ ห้องประชุมชั้น 2 สถานทูตเมียนมา ถ.สาทร  

นายประสิทธิ์ กล่าวว่า กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบอย่างมากจากโควิดระบาดรอบใหม่ครั้งนี้ คือแรงงานเมียนมา ซึ่งการเจ็บป่วยหรือต้องกักตัวในต่างบ้านต่างเมือง เป็นความยากลำบากไม่น้อย ดังนั้น ซีพีเอฟจึงนำไข่ไก่ซีพี 36,000 ฟอง ข้าวสารตราฉัตร 1,200 ถุง น้ำมันพืช 1,200 ขวด ซุปฟักทอง-ข้าวโพด 3,600 ถ้วย และน้ำดื่มซีพีอีก 14,400 ขวดมามอบผ่านสถานทูตเมียนมา เพื่อส่งต่อความช่วยเหลือนี้ไปยังแรงงานเมียนมาทั้ง 1,200 ครอบครัวที่อยู่ระหว่างกักตัวเองในที่พัก ซึ่งจะเป็นอีกส่วนหนึ่งในการลดโอกาสการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนี้ และเชื่อว่าอีกไม่นานทั้งคนไทยและแรงงานเมียนมาจะก้าวผ่านโควิด-19 นี้ไปพร้อมกัน 

ด้าน นายสุภกิจ กล่าวว่า กลุ่มทรูได้จัดเตรียมซิมเฉพาะสำหรับชาวเมียนมาจำนวน 2,000 ซิม และหน้ากากผ้าจำนวน 2,000 ชิ้น เพื่อให้แรงงานชาวเมียนมาทั้ง 1,200 ครอบครัวที่กักตัวในสถานที่พัก สามารถใช้ติดตามข่าวสาร ท่องโลกออนไลน์ และผ่อนคลายกับการดูหนังฟังเพลงได้อย่างต่อเนื่อง ผ่าน Application TrueID ตลอดจนสามารถใช้ Application True Money Wallet ที่รองรับการใช้งานภาษาเมียนมาได้ด้วย ซึ่งจะช่วยให้การกักตัวของแรงงานเป็นไปอย่างราบรื่น ลดโอกาสการระบาดของเชื้อตามมาตรการของรัฐได้เป็นอย่างดี  

ส่วน นายซี เทียน โปว (Mr.SZE TIAN POH) กล่าวว่า โอสถสภาได้เข้าร่วมโครงการนี้กับซีพีเอฟมาตั้งแต่ครั้งที่แล้ว และการได้เป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมช่วยเหลือแรงงานต่างชาติในประเทศไทย นับเป็นอีกความภูมิใจของบริษัท โดยในครั้งนี้ได้นำ ผลิตภัณฑ์ M150 จำนวน 5,000 ขวด ลิโพ 5,000 ขวด และ ซีวิต 3,600 ขวด มามอบให้ และเชื่อมั่นเช่นกันว่า ประเทศไทยจะก้าวผ่านโควิด-19 ได้ในเร็ววัน 

มร. อู เมียว เมียนตัน เอกอัครราชทูตเมียนมา ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ขอขอบคุณน้ำใจของประเทศไทย ของคนไทยทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ให้การเอาใจใส่เยียวยา ตลอดจนดูแลรักษาแรงงานเมียนมาผู้ติดเชื้อโควิด-19 อย่างเป็นธรรมและเสมอภาค ครั้งนี้ซีพีเอฟยังเผื่อแผ่ความใส่ใจไปถึงแรงงานที่ไม่ได้ติดเขื้อ แต่ต้องกักตัวเองในสถานที่พักทั้ง 1,200 ครอบครัวในจังหวัดสมุทรสาครด้วย เป็นความซาบซึ้งใจต่อชาวเมียนมาอย่างที่สุด โดยสถานทูตจะเร่งนำสิ่งของบริจาคทั้งหมดนี้กระจายให้ถึงมือแรงงานเมียนมาทุกครอบครัวต่อไป  

ก่อนหน้านี้ CPF และเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้ส่งมอบความช่วยเหลือผ่านหน่วยงานต่างๆ เพื่อทีมแพทย์ กลุ่มแรงงานต่างชาติและกลุ่มเปราะบางแล้วหลายครั้ง อาทิ มอบอาหารพร้อมทานให้ทีมแพทย์ใน รพ.สมุทรสาคร และ นำผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานและไข่ไก่สด ส่งมอบผ่านมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) ตลอดจน มอบหน้ากากอนามัยซีพี ผ่านศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ ศบค. และสถานทูตเมียนมา เป็นต้น 

เผย 3 กลุ่ม หมดสิทธิ อดได้เงินเยียวยา “เราชนะ” 3,500 บาท

0

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงมาตรการเยียวยาโควิด รอบ 2 ว่า การเปิดให้ลงทะเบียนโครงการคนละครึ่ง เพิ่มอีก 1 ล้านสิทธิ  ในโครงการเราชนะ  ผู้ลงทะเบียนได้สิทธิรับเงินเยียวยา 3,500 บาท เป็นเวลา 2 เดือน แต่วิธีการเปิดลงทะเบียน หลักเกณฑ์  จำนวนผู้ได้รับสิทธิ การจ่ายเงิน อยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงการคลัง  ซึ่งจะได้ข้อสรุปและเสนอรายละเอียดต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการประชุมสัปดาห์หน้า โดยสมมติฐานการจ่ายเงินเยียวยาจะพิจารณาทั้ง 66 ล้านคน  ตัดผู้ที่ไม่ควรได้รับสิทธิออก เช่น ผู้มีรายได้สูง ผู้ได้รับการเยียวยาจากประกันสังคม เป็นต้น

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า เบื้องต้น กลุ่มที่ไม่เข้าข่ายได้รับเงินเยียวยา 3,500 บาท จะเป็นกลุ่มที่ได้รับการดูแลอยู่แล้ว ประกอบด้วย

1. กลุ่มข้าราชการ กว่า 3 ล้านคน พนักงานและลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ

2. กลุ่มที่อยู่ในฐานระบบกองทุนประกัน ตามมาตรา 33 อีก 11 ล้านคน

3. กลุ่มผู้ที่มีรายได้สูง ซึ่งกระทรวงการคลังจะมีเกณฑ์มาวัดว่า รายได้เท่าใด จึงจะไม่ได้รับเงิน 3,500 บาท โดยพิจารณาบัญชีเงินฝาก รายได้เข้า-ออกเดือนต่อเดือน รวมทั้งฐานการเสียภาษี

ทั้งนี้ กลุ่มที่เข้าข่ายได้รับเงินเยียวยา 3,500 บาท ต้องเป็น กลุ่มอาชีพอิสระ เหมือนมาตรการ “เราไม่ทิ้งกัน” เช่น กลุ่มแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ผู้ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาล และมัคคุเทศก์ เป็นต้น กลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 14 ล้านคน ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และ 40 และกลุ่มผู้เข้าร่วมมาตรการคนละครึ่ง ที่มีการยืนยันใช้สิทธิแล้วกว่า 13.8 ล้านราย หรือไม่เกิน 15 ล้านราย แต่ต้องมาพิจารณาคุณสมบัติว่า จะผ่านเกณฑ์ได้รับเงินช่วยเหลือในรอบนี้ด้วยหรือไม่อีกครั้ง  กลุ่มต้องลงทะเบียนใหม่ จะเป็นกลุ่มที่ไม่เคยอยู่ในฐานข้อมูลเดิมอยู่เลย รวมทั้งกลุ่มเกษตรกร ที่เคยลงทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร อาจจะต้องมาลงทะเบียนใหม่  จะช่วยเหลือพร้อมกันในรอบเดียว ในหลักการก็จะช่วยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ

สำหรับวิธีการลงทะเบียน จะทำผ่่านเว็บไซต์ www.เราชนะ.com และแอพพลิเคชัน “เราชนะ” แต่สำหรับรายที่รัฐมีข้อมูลอยู่แล้ว และเข้าเกณฑ์ได้รับสิทธิ เช่น ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ อาจไม่ต้องลงทะเบียนเพิ่ม ซึ่งรัฐจะนำฐานข้อมูลที่มีอยู่แล้วมาประกอบการพิจารณา  ซึ่งหลังจากนี้จะสรุปและแจ้งทางการอีกครั้ง คาดว่าจะสามารถเปิดเว็บไซต์ เราชนะ ได้ในสิ้นเดือน ม.ค.นี้ โดยจะแจกเงิน 2 เดือน คือ เดือนก.พ. และ มี.ค.2564  ส่วนเรื่องงบประมาณที่จะนำมาใช้กับรอบนี้อยู่ระหว่างสรุป แต่ยืนยันว่า พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ยังเพียงพอ ไม่ต้องกู้เพิ่ม

เปิดมาตรการด้านการเงินเยียวยาโควิด-19 ระลอกใหม่ เสริมสภาพคล่อง บรรเทาภาระหนี้

0

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีมาอย่างต่อเนื่องและนำไปสู่การประกาศพื้นที่ควบคุมสูงสุดรวมทั้งสิ้น 28 จังหวัด ของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ในการนี้ เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น แก่ผู้ประกอบการและประชาชน จากสถานการณ์ที่ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า จะขยายวงกว้างมากน้อยเพียงใด

กระทรวงการคลัง และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ จึงได้ดำเนินมาตรการด้านการเงินต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการที่มีอยู่แล้วซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันที และมาตรการเพิ่มเติมอื่นๆ ประกอบไปด้วยมาตรการเสริมสภาพคล่อง (สินเชื่อและค้ำประกันสินเชื่อ) และมาตรการบรรเทาภาระหนี้สิน (พักชำระหนี้) โดยมีมาตรการที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้

1. มาตรการเสริมสภาพคล่อง (สินเชื่อและค้ำประกันสินเชื่อ)

เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสCOVID-19 ให้มีสภาพคล่องสำหรับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและการดำเนินธุรกิจ กระทรวงการคลังร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ดำเนินมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำและมาตรการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.1 มาตรการเสริมสภาพคล่องสำหรับผู้ประกอบการ ประกอบด้วย

1.1.1 ธนาคารออมสิน ได้ดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับผู้ประกอบการ ดังนี้

โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) สำหรับผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง (Soft Loan ท่องเที่ยว) วงเงินคงเหลือประมาณ 7,800 ล้านบาท

โครงการสินเชื่อฟื้นฟูท่องเที่ยวไทย วงเงินคงเหลือประมาณ 4,200 ล้านบาท

โครงการสินเชื่อออมสิน SMEs มีที่ มีเงิน วงเงินโครงการ 10,000 ล้านบาท โดยทุกโครงการรับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564

1.1.2 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ได้ดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) (สินเชื่อ Extra Cash) วงเงินคงเหลือประมาณ 5,900 ล้านบาท รับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564

1.1.3 บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ได้ดำเนินโครงการค้ำประกันสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการ SMEs และผู้ประกอบการรายย่อย ดังนี้

โครงการค้ำประกันสินเชื่อ SMEs ไทยสู้ภัยโควิด วงเงินโครงการ 5,000 ล้านบาท ภายใต้โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 9

โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Micro ไทยสู้ภัยโควิด วงเงินโครงการ 5,000 ล้านบาท ภายใต้โครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs ระยะที่ 4 ทั้ง 2 โครงการรับคำขอค้ำประกันสินเชื่อถึงวันที่ 31 มกราคม 2564

โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS Soft Loan พลัส วงเงินคงเหลือประมาณ 54,000 ล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีคุณสมบัติตาม Soft Loan ธปท. และ Soft Loan ท่องเที่ยวของธนาคารออมสิน รับคำขอค้ำประกันสินเชื่อตามระยะเวลารับคำขอสินเชื่อของแต่ละโครงการ

นอกจากนี้ กระทรวงการคลังร่วมกับ ธปท. ได้มีการออกพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (Soft Loan ธปท.) ซึ่งมีวงเงินคงเหลือประมาณ 370,000 ล้านบาท รับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 18 เมษายน 2564

1.2 มาตรการเสริมสภาพคล่องสำหรับประชาชน

1.2.1 ธนาคารออมสิน ได้ดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับประชาชน ดังนี้

โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) (สินเชื่อฉุกเฉิน) วงเงินคงเหลือประมาณ 2,700 ล้านบาท

โครงการสินเชื่อเสริมพลังฐานราก วงเงินคงเหลือประมาณ 10,000 ล้านบาท โดยทั้ง 2 โครงการได้ขยายเวลารับคำขอสินเชื่อออกไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564

1.2.2 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับประชาชน ดังนี้

โครงการสินเชื่อฉุกเฉิน วงเงินคงเหลือประมาณ 11,000 ล้านบาท โดยได้ขยายเวลารับคำขอสินเชื่อออกไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564

โครงการสินเชื่อพอเพียงเพื่อเลี้ยงชีพ (Sufficient Loan : SL) วงเงินโครงการ 10,000 ล้านบาท

โครงการสินเชื่อ New Gen Hug บ้านเกิด วงเงินโครงการ 60,000 ล้านบาท

โครงการสินเชื่อระยะสั้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Jump Start Credit) วงเงิน 100,000 ล้านบาท ทุกโครงการสิ้นสุดการจ่ายเงินกู้วันที่ 30 มิถุนายน 2564

2. มาตรการบรรเทาภาระหนี้สิน (พักชำระหนี้)

สถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่งได้มีการจัดกลุ่มลูกหนี้ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มสีเขียว คือกลุ่มที่สามารถกลับมาชำระหนี้ได้ปกติ

กลุ่มสีเหลือง คือกลุ่มที่กลับมาชำระหนี้ได้บางส่วนไม่เต็มจำนวนที่ต้องจ่าย

กลุ่มสีแดง คือกลุ่มที่มีปัญหาไม่สามารถชำระหนี้ได้

โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจ จะมีการพิจารณามาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้แต่ละรายเพิ่มเติมเป็นการเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น การขยายเวลาการชำระหนี้ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และการให้สินเชื่อเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง รวมถึงมีการติดต่อลูกค้าเพื่อช่วยเหลือในเชิงรุก สำหรับลูกค้าที่อยู่ในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดตามประกาศของ ศบค.

ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะประสาน ธปท. เพื่อให้มีการดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชนในส่วนของธนาคารพาณิชย์ในลักษณะเช่นเดียวกันกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจต่อไป

กระทรวงการคลัง มั่นใจว่ามาตรการด้านการเงินดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ มาตรการค้ำประกันสินเชื่อ และมาตรการเพื่อบรรเทาภาระหนี้สิน จะช่วยบรรเทาปัญหาสภาพคล่องของผู้ประกอบการ ให้สามารถดำเนินธุรกิจและรักษาการจ้างงาน รวมไปถึงช่วยบรรเทาภาระของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

เพื่อให้เศรษฐกิจสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่รัฐบาลได้มีมาตรการเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดไม่ให้ขยายเป็นวงกว้างออกไป โดยกระทรวงการคลังจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและพร้อมที่จะออกมาตรการที่เหมาะสมมาดูแลเศรษฐกิจไทยอย่างทันท่วงทีเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป

เอไอเอส ยกระดับบริการ เคียงข้าง SME ปรับตัวเข้ายุคดิจิทัล

0

นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา ภาคธุรกิจถูก Disrupt โดยเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ค่อยๆ เข้ามาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมถึงสร้างโอกาสทางธุรกิจในรูปแบบใหม่ (New Business Model) ไปพร้อมกัน นอกจากนี้ สถานการณ์โควิด-19 ยังทำให้เห็นชัดเจนมากขึ้นว่า ได้สร้างความเสียหาย และเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตไปโดยสิ้นเชิง สำหรับภาคธุรกิจ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อย หรือ SME จะเป็นกลุ่มธุรกิจแรกๆ ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ทั้งจากมาตรการล็อกดาวน์ประเทศ และภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อย่างไรก็ตาม ก็เป็นโอกาสที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจด้วยเครื่องมือดิจิทัลโซลูชัน หรือออนไลน์ เข้ามาเป็นส่วนผสมใหม่ของการดำเนินธุรกิจให้อยู่รอดและสร้างการเติบโตได้อย่างยั่งยืนเช่นกัน

เอไอเอส ขอร่วมแรงสู้ไปพร้อมกันกับเอสเอ็มอี ผ่านแนวคิด “เพื่อนที่มั่นใจได้ทุกเรื่อง SME” ด้วยบริการดิจิทัลที่ครอบคลุมครบทุกด้าน เพื่อสนับสนุนการใช้ชีวิตและ
ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย หรือ SME  ที่จะเป็นเพื่อนที่มั่นใจได้ทุกเรื่อง SME ที่ ง่าย มั่นใจ ครบทุกมิติ

  • ง่าย     ต่อยอดธุรกิจง่ายด้วยหลากหลายบริการที่ตอบโจทย์ SME ทุกประเภท
  • มั่นใจ    ส่งมอบบริการด้วยโซลูชันบนเครือข่ายคุณภาพ
  • ครบทุกมิติ   ดูแลด้วยผู้ชำนาญการ พร้อมสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อให้ SME เติบโตต่อเนื่อง

ผ่านอาวุธดิจิทัล 7S ประกอบด้วย

  1. AIS SME Mobile Services : รูปแบบการสื่อสารที่ออกแบบให้เหมาะกับธุรกิจออนไลน์ อาทิ SME Pro Social ให้เป็นนักธุรกิจออนไลน์แบบมือโปร เริ่มต้นเพียง เดือนละ 599 บาท สุดคุ้ม ทั้งโทรและเน็ต พร้อมใช้ฟรีบริการผู้ช่วย LIVE สด, รับฟรีส่วนลดอุปกรณ์ LIVE สด เบื้องต้นแบบครบเซ็ต, ใช้ฟรี Social App. (Facebook, Instagram, LINE และ What App) พร้อมฟรีประกันภัยไซเบอร์ ลดความเสี่ยงที่ธุรกิจจะเสียหายจากการโจมตีทางไซเบอร์ในยุคนี้ นอกจากนี้ ยังมอบความพิเศษให้กับลูกค้าที่เปิดเบอร์ หรือย้ายค่าย ได้คุ้มเต็มแรง 3 ต่อ คุ้มที่หนึ่ง รับอินเทอร์เน็ต 5G จำนวน 10 GB/เดือน นาน 3 เดือน เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารช่วงวิกฤตโควิด คุ้มที่สอง รับสิทธิ์สินเชื่อจากธนาคาร UOB อัตราดอกเบี้ยพิเศษ และคุ้มที่สาม รับส่วนลดสูงสุดถึง 30% ในการซื้อ Tablet หรือ Smartphone (เฉพาะรุ่นที่ร่วมรายการ) จาก Samsung
  2. AIS SME Internet Services : ครบ ครอบคลุม ทุกพื้นที่ เหมาะกับธุรกิจที่ต้องมีบริการอินเทอร์เน็ตให้ลูกค้า อย่าง โรงแรม, อพาร์ตเมนท์ , หอพัก พร้อมจัด Speed และราคาให้เหมาะกับรูปแบบการใช้งานตามช่วงเวลา อาทิ SME Office Broadband Plus เริ่มต้นเพียงเดือนละ 599 บาท ความเร็วสูงสุด (ดาวน์โหลด/อัปโหลด) 500/500 Mbps พร้อมจัดเต็มสิทธิประโยชน์เพื่อการบริหารจัดการ Office เพียบ
  3. AIS SME Digital Marketing Services : ครบด้วยบริการดิจิทัล ออนไลน์ เหมาะกับธุรกิจ ที่มองหาเครื่องมือการตลาดดิจิทัล เพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างทรงประสิทธิภาพ อาทิ AIS Growbiz แอปฯ การตลาดออนไลน์ ที่มาพร้อม นามบัตรดิจิทัล, บริการจองคิว, บริการช่วยตอบ Chat ระบบอัตโนมัติ, เว็บไซต์ Yellow Pages, Digital Marketing 360°, บริการ Call Center และ Thailand Ad Network (THAN)
  4. AIS SME IT & Digital Solutions : ครบเครื่องกับระบบไอทีหลังบ้านที่ได้มาตรฐานระดับโลก อาทิ Work From Home โซลูชัน, Cloud, ระบบบัญชีออนไลน์, ระบบติดตาม นอกจากนี้ AIS SME ยังเป็นรายแรกและรายเดียวในกลุ่มโทรคมนาคม ที่มอบความคุ้มครองประกันภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security insurance) สำหรับแพ็คเกจมือถือ AIS SME ที่ร่วมรายการ
  5. AIS SME Full e-Services : ครบด้วยงานบริการแบบ E-Service ที่อำนวยความสะดวกให้แก่นิติบุคคล อาทิ บริการรับบิลล์และใบเสร็จทางออนไลน์, eWithholding TAX และ myAIS for Corp.ฯลฯ
  6. AIS SME Special Privileges : ครบยิ่งกว่า ด้วยสิทธิพิเศษที่ทำให้ทั้งการทำธุรกิจและการใช้ชีวิต ง่ายและคุ้มขึ้น อาทิ AIS SME BIZ UP ศูนย์รวมดีลเด็ด เช่น คอร์สเทรนออนไลน์, ส่วนลดลงโฆษณาออนไลน์ โดยยังคงมอบสิทธิพิเศษเน็ตฟรีให้แก่สมาชิก AIS SME BIZ UP อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้รับมือกับสถานการณ์โควิดได้อย่างดี รวมถึงล่าสุด SME สามารถสะสม AIS Points ได้แล้วเช่นกัน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 รับปีใหม่นี้
  7. AIS SME Strategic Partnership : ครบทุกโอกาสแห่งการเติบโตใหม่ๆ สร้างยอดขาย ผนึกกำลัง เป็นพาร์ทเนอร์ทั้งในไทยและต่างประเทศ กับ 3 โครงการสุดล้ำ AIS The StartUps , AIS BizUp Partners และ AIS Channel Partners

“AIS SME ขอยืนยันความพร้อมว่า จะอยู่เคียงข้าง คอยสนับสนุนให้ SME ก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างแข็งแกร่ง แบบไม่ต้องกังวลกับระบบบริการหลังบ้าน เพราะชาวเอไอเอสจะร่วมดูแลคุณเสมอ จะเป็นเพื่อนที่มั่นใจได้ทุกเรื่อง SME ที่ ง่าย มั่นใจ ครบทุกมิติ” นายธนพงษ์ กล่าวสรุป

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ SME ไทย ที่สนใจสมัครหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้หลากหลายช่องทาง คือ เว็บไซต์ AIS SME  https://business.ais.co.th/sme/index.html, เฟซบุ๊ก AIS SME  https://www.facebook.com/AISBusinessSME ,ไลน์ AIS SME             @AIS Business และ CALL CENTER 1149

ซีพีเอฟ เดินหน้าส่งกำลังใจให้หมอ-พยาบาล 15 รพ. ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด ส่งอาหารจากใจช่วยสู้ภัยโควิด-19

0

รายงานข่าวจากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า บริษัทโดย ทีมเดลิเวอรี่ของ ซีพี เฟรชมาร์ท ได้จัดส่งผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทานให้กับ 15 โรงพยาบาลใน 6 จังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุด ประกอบด้วย จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี

บรรดาทีมแพทย์ และพยาบาลใน 6 จังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุด มีกำลังใจเพิ่มขึ้น ได้รับผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัย กว่า 61,000 แพ็คเรียบร้อยแล้วจาก โครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” ของ ซีพีเอฟ ช่วยแบ่งเบาภาระนักรบเสื้อกาวน์​ มีพลังใจพลังกายทุ่มเท ดูแลคนไทย สู้โควิด19 รอบใหม่ ได้อย่างเต็มที่

โครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19 เป็นกองหนุนให้ทีมแพทย์ พยาบาล และบุคลากรด้านสาธารณสุข ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นด่านหน้าในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ให้ได้รับอาหารที่ดี มีคุณค่าทางโภชนาการ สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เต็มที่ ช่วยเหลือสังคมและประเทศไทยเอาชนะกับวิกฤตครั้งนี้ได้

ผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทานจำนวน 61,200 แพ็ค ได้จัดส่งถึงโรงพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ทั้ง 15 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสมุทรสาคร โรงพยาบาลกระทุ่มแบน โรงพยาบาลนครปฐม โรงพยาบาลบางเลน โรงพยาบาลราชบุรี โรงพยาบาลดำเนินสะดวก โรงพยาบาลบ้านโป่ง โรงพยาบาลบ้านแพ้ว โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า โรงพยาบาลนภาลัย โรงพยาบาลพระจอมเกล้า โรงพยาบาลมะการักษ์ โรงพยาบาลพหลพลพยุหาเสนา โรงพยาบาลพระยายมราช และโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17

โครงการดังกล่าว ริเริ่มขึ้นโดย นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ นำความเชี่ยวชาญในการผลิตอาหารมาช่วยแบ่งเบาภาระของภาครัฐ รวมทั้งกระทรวงสาธารณสุข ตลอดจนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือคนไทยและประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 มาตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมา และการระบาดรอบใหม่นี้ บริษัทฯ จึงนำอาหารแบ่งเบาภารกิจของทีมแพทย์-พยาบาลในพื้นที่ควบคุมสูงสุด อีกครั้ง เพื่อเติมกำลังกายและเป็นกำลังใจให้แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องใกล้ชิดและมีความเสี่ยงอย่างมากโดยเฉพาะในจังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด

นอกจากการสนับสนุนอาหารให้ทีมแพทย์-พยาบาลในพื้นที่ควบคุมสูงสุดแล้ว ซีพีเอฟ ยังได้ร่วมมือกับมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน นำผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปกว่า 30,000 แพ็ค และไข่ไก่สด 10,000 ฟองช่วยบรรเทาความทุกข์ยากของพี่น้องแรงงานที่อยู่ในชุมชนตลาดกลางกุ้ง มหาชัย ร่วมกับเครือเจริญโภคภัณฑ์สนับสนุน “หน้ากากอนามัย ซีพี” จำนวนรวม 200,000 ชิ้น ผ่าน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ กรุงเทพมหานคร เพื่อนำไปช่วยกลุ่มผู้เปราะบาง และแรงงานต่างชาติในพื้นที่ควบคุมสูงสุด เพื่อร่วมสนับสนุนประเทศไทยเอาชนะโควิด-19 รอบนี้ และก้าวพ้นวิกฤตได้อีกครั้ง