แนะวิธีป้องกันภัย ไม่ให้โดนโจรกรรมทางการเงิน

ภัยโจรกรรมทางการเงิน ปรากฏเป็นข่าว และสร้างความเสียหายด้านทรัพย์สินเงินทองกับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบัน การเข้าถึงเทคโนโลยีการสื่อสารของผู้คนเป็นไปได้ง่ายและสะดวกขึ้น ทำให้มิจฉาชีพ หรือผู้ไม่ประสงค์ดี สามารถใช้ช่องทางนี้ หลอกลวงเหยี่อ เพื่อขโมยเอาข้อมูลส่วนตัวเราไปหาประโยชน์ในทางที่มิชอบได้

ตัวอย่างสถานการณ์ที่อาจทำให้เรา หรือคนรอบข้าง ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ได้แก่

  1. การฉ้อโกงโดยการสวมรอย ผู้ไม่ประสงค์ดีจะแอบอ้างเป็นพนักงานธนาคาร หรือเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานราชการ เพื่อหลอกถามข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลการเงิน และเรียกร้องให้แสดงธุรกรรมทางการเงิน
  2. การฉ้อโกงแบบฟิชชิ่ง เป็นรูปแบบในการปลอมแปลงผ่านชองทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อีเมล์ โทรศัพท์ หรือ sms ที่พยายามจะให้เราเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความรับ เช่น ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน ข้อมูลบัตรเครดิต
  3. การฉ้อโกงผ่านการประชุมออนไลน์ การไม่ได้ป้องกันการเข้าร่วมประชุมจากบุคคลภายนอกด้วยรหัสผ่าน อาจทำให้ข้อมูลลับทางธุรกิจและข้อมูลส่วนบุคคล รั่วไหลผ่านช่องทางการประชุมออนไลน์
  4. การฉ้อโกงผ่านการซื้อสินค้าออนไลน์ ผู้ไม่ประสงค์ดีหลอกขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ โดยจะขาดการติดต่อหลังจากการทำธุรกรรมเสร็จ

วิธีป้องกันข้อมูลส่วนตัวของเรา

ข้อมูลส่วนบุคคลในการทำธุรกรรมออนไลน์ 1. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวให้กับบุคคลที่สาม รวมไปถึงพนักงานธนาคาร 2. ทุกธนาคารไม่มีนโยบายสอบถามข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า เช่น เลขที่บัญชี ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน รหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดียว (OTP) รหัสเอทีเอ็มหรือ PIN ยอดเงินคงเหลือในบัญชี เลขบัตรประชาชนหรือพาสปอร์ด รวมทั้งข้อมูลส่วนตวอื่นๆ ผ่านช่องทางต่างๆ (อีเมล โทรศัพท์ และ sms)

แอปพลิเคชั่นประชุมออนไลน์/ช่องทงออนไลน์อื่นๆ 1. อย่าเปิดเผยรหัสผ่านการเข้าร่วมประชุมแก่บุคคลที่สาม และควรแน่ใจว่ารหัสของเราเป็นความลับ 2. ถ้ามีข้อกังวลเกี่ยวกับตัวตนของผู้เข้าร่วมประชุม หรือความผิดปกติใดๆ ให้ออกจากแอปพลิเคชั่น หรือชองทางที่ใช้บริการอยู่ทันที

ช้อปออนไลน์ 1.ซื้อสินค้าจากร้านออนไลน์ บนแพลตฟอร์มที่น่าเชื่อถือ 2. ค้นหาประวัติความน่าเชื่อถือของร้านค้าก่อนชำระเงิน 3. ไม่ควรชำระเงินล่วงหน้า หรือมัดจำค่าสินค้า

ทั้งนี้ หากพบกรณี หรือพฤติกรรมที่ไม่น่าไว้วางใจ ให้รีบแจ้งธนาคารที่เรามีบัญชีอยูทันที และเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน รหัสเอทีเอ็ม บ่อยๆ

ที่มา ซิตี้แบงก์