รวยเร็วกับดอกเบี้ยเงินฝากทบต้น

#เกรียนพารวย

เชื่อว่าหลายคนคงได้ยินคำว่า ดอกเบี้ยทบต้น แต่ส่วนใหญ่จะเป็นด้านหมดเนื้อหมดตัว ปิดร้านหนีหนี้ เพราะดอกเบี้ยทบต้นทบดอกจากเจ้าหนี้นอกระบบเสียมากกว่า

แต่ในความเป็นจริง โลกมีทั้งด้านมืด และด้านสว่าง เหรียญย่อมมีสองด้าน

วันนี้ #เกรียนพารวย จึงจะมาทำความรู้จักกับอีกด้านของพลังดอกเบี้ยทบต้นของเงินฝาก

ก่อนอื่นมารู้จักกับ ดอกเบี้ยเงินฝาก กันก่อน

ซึ่งมีความหมายว่า  ผลตอบแทนที่ผู้ฝากเงินได้รับจากการนำเงินมาฝากไว้กับสถาบันการเงิน

อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก  มักอยู่ในลักษณะร้อยละต่อปี ที่สถาบันการเงินจ่ายให้กับผู้ฝากเงินเพื่อเป็นผลตอบแทนในการนำเงินมาฝากไว้กับสถาบันการเงิน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากมีหลายประเภท หลายอัตรา โดยทั่วไปขึ้นอยู่กับระยะเวลาการฝากเงินและเงื่อนไขการถอนเงิน เช่น อัตราดอกเบี้ยของบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่สามารถถอนเงินได้ตลอดเวลาจะต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน หรือ 6 เดือน

เราจึงควรคำนึงถึงความจำเป็นในการใช้เงิน และผลตอบแทนที่เราต้องการ ก่อนตัดสินใจเลือกฝากเงิน เพื่อที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการฝากเงินนั้น

แล้วก็มาถึง ห้วข้อสำคัญที่เกรียนพารวย อยากให้ผู้อ่านได้รู้จัก นั่นก็คือ ดอกเบี้ยทบต้น

คำกล่าวที่ว่า “ออมก่อน รวยก่อน” นั้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอานุภาพของดอกเบี้ยทบต้น (Compound Interest Rate) ซึ่งพูดให้เข้าใจง่ายก็คือดอกเบี้ยของดอกเบี้ยนั่นเอง  ตัวอย่างเช่น  ฝากเงินกับธนาคาร 10,000 บาท  ธนาคารให้ดอกเบี้ย  5% ต่อปี  เมื่อครบ 1 ปี เงินของเราจะเพิ่มขึ้นเป็น 10,500 บาท (เงินต้น 10,000 บาท บวกดอกเบี้ย 500 บาท) เงิน 10,500 บาทนี้ จะกลายเป็นเงินต้นของปีที่ 2 และเมื่อครบ 2 ปี เงินของเราจะเพิ่มขึ้นเป็น 11,025 บาท (เงินต้น 10,500 บาท บวกดอกเบี้ย 525 บาท) และในปีถัด ๆ ไปดอกเบี้ยของปีนั้นจะถูกทบเข้ากับเงินต้น และกลายเป็นเงินต้นของปีถัดไป เป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ

จะเห็นได้ว่า ส่วนที่เป็นดอกเบี้ยไม่ได้คงที่ที่ 500 บาท แต่เพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นเพราะเงินต้นของเราก็เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปีเช่นกัน เนื่องจากได้เอาดอกเบี้ยของปีก่อนมารวมเข้าเป็นเงินต้นด้วยแล้ว

หากเราๆท่านๆ รู้จักพลังของดอกเบี้ยทบต้นแล้ว ก็หวังว่า จะเลือกถูกฝั่งถูกฝาว่า จะรวยๆๆ กับดอกเบี้ยเงินฝากทบต้น หรือจมธรณี หนีหนี้ กับพลังทำลายของอีกด้าน

โอกาสหน้า จะพาไปรู้จัก ดอกเบี้ยเงินฝ่ากแต่ละประเภทกันนะค่ะ

ขอบคุณ ข้อมูล ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย