สถานการณ์ชายแดนไทยกัมพูชา ทำให้หลายพื้นที่กลายเป็นพื้นที่เสี่ยงภัย ประชาชนในหลายอำเภอของจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ต้องไปพักอาศัยอยู่ที่ศูนย์อพยพที่ทางราชการจัดไว้ให้ ซึ่งต้องการอาหาร น้ำดื่ม เครื่องใช้เพื่อรองรับประชาชนในเวลานี้
ซีพีเอฟห่วงใยพี่น้องประชาชน พร้อมอยู่เคียงข้างทุกวิกฤต โดย ธุรกิจสุกร ภาคอีสาน เร่งจัดตั้งศูนย์ประสานงาน 3 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์น้ำยืน ศูนย์ศรีสะเกษ ศูนย์สุรินทร์ เพื่อประสานการช่วยเหลือแก่ศูนย์อพยพของหน่วยงานราชการในพื้นที่ เพื่อส่งความห่วงใยผ่านมื้ออาหารของทุกคน โดยจับมือร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ โดยได้มอบเนื้อหมูและเนื้อไก่ แก่ พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี เพื่อส่งต่อเป็นวัตถุดิบแก่ โรงครัวพระราชทาน โดยกองอำนวนการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดอุบลราชธานี ส่วนในจังหวัดศรีสะเกษ ธุรกิจสุกร สนับสนุนเนื้อหมู เนื้อไก่ และน้ำดื่ม แก่ศูนย์รับอพยพประชาชน ที่ว่าการ อ.เบญจลักษ์, ที่ทำการ ต.หนองหว้า, ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ต.หนองหว้า, รพ.สต.หนองหว้า, อบต.ท่าคล้อ จำนวน 4 ศูนย์, ที่ว่าการ อ.โนนคูณ, อบต. โนนค้อ จำนวน 2 ศูนย์ และ อบต.พรหมสวัสดิ์ อ.พยุห์ โดยส่งมอบวัตถุดิบทั้งหมดแก่หน่วยงานต่างๆ ใช้ประกอบอาหาร แจกจ่ายให้กับประชาชนและอาสาสมัครต่อไปทางด้าน โรงงานผลิตอาหารสัตว์ศรีสะเกษ ธุรกิจสุกร ร่วมสนับสนุนน้ำดื่ม CP ให้กับศูนย์พักพิง 2 ศูนย์ ในจังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ 1.ศูนย์พักพิง หอประชุม อ.โนนคูณ และ ศูนย์พักพิง ศาลาวัดทักษิณธรรมนิเวศน์ อ.โนนคูณ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนขณะที่ ธุรกิจไก่เนื้อ ภาคอีสาน โดย โรงงานชำแหละไก่ศรีสะเกษ เร่งสนับสนุนผลิตภัณฑ์ไก่ ในภารกิจการช่วยเหลือประชาชน ในจุดอพยพ อ.เบญจลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ จำนวน 4 จุด จำนวนผู้อพยพรวมกว่า 2,550 ราย ได้แก่ จุดอพยพ อ.เบญจลักษ์, จุดอพยพวัดคำสะอาด ต.ท่าคล้อ, จุดอพยพวัดโนนสำโรง ต.ท่าคล้อ และจุดอพยพวัดหนองบักโทน ต.ท่าคล้อ ล่าสุดสนับสนุนแก่จุดอพยพ อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานีนอกจากนี้ ธุรกิจไก่ไข่ ภาคอีสาน ส่งมอบไข่ไก่ CP จำนวน 3,000 ฟอง ถึงศูนย์พักพิงผู้ประสบภัย อ.พยุห์ จ.ศรีสะเกษ และเตรียมส่งมอบแก่ อ.ไพรบึง อ.ภูสิงห์

ซีพีเอฟขอส่งกำลังใจและความห่วงใย ไปพร้อมกับมื้ออาหาร ที่หน่วยงานภาคีเครือข่าย ตั้งใจปรุงเพื่อนำไปส่งมอบถึงมือพี่น้องประชาชน ให้ก้าวผ่านพ้นเหตุการณ์นี้ไปได้ด้วยความปลอดภัย.