“ปลาหมอคางดำ” ถูกยกระดับเป็นวาระแห่งชาติ หลังจากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ปี 2567-2570 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา เพื่อหยุดการแพร่พันธุ์ของประชากรปลาหมอคางดำในทุกพื้นที่ มีเป้าหมายไม่น้อยกว่า 5 ล้านกิโลกรัม ในแหล่งน้ำ 19 จังหวัด ภายในปี 2570 โดยกรมประมงบูรณาการความร่วมมือ ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ซึ่งหนึ่งในภาคส่วนที่ร่วมแรงร่วมใจช่วยแก้ปัญหานี้มาอย่างต่อเนื่อง คือ ซีพีเอฟ ที่ให้การสนับสนุนกรมประมง ด้วยการระดมทุกสรรพกำลังในการสนับสนุนการแก้ปัญหา ผ่านแผนปฏิบัติการเชิงรุก 5 โครงการ ได้แก่
โครงการร่วมกับกรมประมงรับซื้อปลาเพื่อทำปลาป่น 2 ล้านกิโลกรัม ที่ปัจจุบันร่วมกับโรงงานปลาป่นในสมุทรสาครจัดซื้อปลาไปแล้วกว่า 8 แสนกิโลกรัม
โครงการปล่อยปลากะพงขาวปลานักล่า 2 แสนตัว จนถึงวันนี้ปล่อยปลากะพงลงแหล่งน้ำแล้ว 64,000 ตัว,
โครงการสนับสนุนกรมประมง ร่วมกับประมง 13 จังหวัด เปิดปฏิบัติการ “ลงแขกลงคลอง” ล่าปลาหมอคางดำ มอบอุปกรณ์จับปลา สนับสนุนกำลังคน อาหาร และน้ำดื่ม พร้อมมอบถังพลาสติกใช้แล้วทำน้ำหมักชีวภาพปลาหมอคางดำ เพื่อเกษตรกรชาวสวนยาง
โครงการร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นำปลาไปใช้ประโยชน์ เช่น แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร
และโครงการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญและมหาวิทยาลัยในการศึกษาวิจัยนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีเพื่อตัดวงจรและควบคุมการแพร่พันธุ์ของปลาชนิดนี้ในระยะยาว โดยมีมหาวิทยาลัยแสดงเจตนารมณ์ร่วมโครงการวิจัย ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยแม่โจ้
โครงการเชิงรุกที่ยังคงเดินหน้า เพื่อเร่งกำจัดและควบคุมประชากรปลาหมอคางดำอย่างจริงจัง ส่งผลให้ปริมาณปลาหมอคางดำในหลายพื้นที่ลดลงอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งหมดนี้เพื่อร่วมฟื้นฟูความสมดุลของระบบนิเวศและทรัพยากรสัตว์น้ำของไทย.